การวิเคราะห์คติชนในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

Main Article Content

เมธี อนันต์
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์ประเภทของคติชน 2. วิเคราะห์อนุภาคทางคติชน  3. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคม 4. วิเคราะห์การสะท้อนคติชนทางสังคม วิถีชีวิตและการเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตจริง โดยมีแหล่งข้อมูลในการวิจัย คือ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกวิเคราะห์คติชนในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์สรุปอุปนัยแล้วเขียนบรรยายเป็นความเรียง


ผลการวิจัย พบว่า 1. ข้อมูลประเภทของคติชนที่พบประกอบด้วย กลุ่มสื่อความด้วยภาษา คิดเป็นร้อยละ 58.47 กลุ่มวัตถุภาษา คิดเป็นร้อยละ 31.70 และคติชนกลุ่มผสม คิดเป็นร้อยละ 9.83 ตามลำดับ 2. ข้อมูลอนุภาคทางคติชนที่พบประกอบด้วย หมวด F ความแปลกมหัศจรรย์ คิดเป็นร้อยละ 64.29 หมวด D ความวิเศษ คิดเป็นร้อยละ 17.86 หมวด V ศาสนา คิดเป็นร้อยละ 7.14 หมวด B สัตว์ หมวด G ยักษ์ และหมวด T เรื่องเพศ คิดเป็นร้อยละ 3.57 ตามลำดับ 3. ข้อมูลบทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคมที่พบประกอบด้วย บทบาทคติชนในการให้การศึกษา อบรมระเบียบสังคม และรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคมในมิติของบทบาทคติชนในการอบรมระเบียบสังคม ปลูกฝังค่านิยม และรักษาบรรทัดฐานทางพฤติกรรมให้สังคม คิดเป็นร้อยละ 49.53 บทบาทคติชนในการให้ความรู้และเสริมสร้างปัญญา คิดเป็นร้อยละ 22.43 และบทบาทคติชนในการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับ “ท้องถิ่น” ของตน คิดเป็นร้อยละ 17.76 และความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทหน้าที่ของคติชนในสังคมเกี่ยวกับบทบาทคติชนในการอธิบายต้นกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรมในมิติของพิธีกรรมและประเพณีสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชนหรือชาติพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 6.54 ตำนานเกี่ยวกับอธิบายพิธีกรรม คิดเป็นร้อยละ 2.80 และตำนานกับการอธิบายกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและสถานภาพของคนในสังคม คิดเป็นร้อยละ 0.94 ตามลำดับ 4. สะท้อนให้เห็นเรื่องราวซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลคติชนวิทยาประเภทสำนวน สุภาษิต ตำนาน วิถีชีวิต ความเชื่อ พิธีกรรม การตั้งถิ่นฐาน การประกอบชีพ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี อารยธรรม คุณค่าทางสังคมและวิถีชีวิต คุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาอารยธรรมที่บรรพชนได้สั่งสมมาเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติไทย อีกทั้งข้อมูลคติชนวิทยาในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ชีวิตจริงไปสู่การพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาตนเอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเข้าใจและเป็นสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Attagara, K. (1977). Folklore. Bangkok: Teachers Council. [In Thai]

Bascom, W. (1965). Four functions of folklore. In Alan Dundes (ed.), The study of folklore, (pp. 279-298). New Jersey: Prentice-Hall.

BoonIntr, S. (2018). Location and home décor that reflect lifestyle and beliefs of Huathakae old Market waterfront Community. Patanasilpa, 2(Special), 289-302. [In Thai]

Brunvand, J. H. (1968). The study of American folklore: An introduction. (2nd ed.). New York: W.W. Norton and Co.

Dorson, R. M. 1972). Folklore and folklife an introduction. Chicago: University of Chicago Press.

Georges, R. A. and Jones, M. O. (1995). Folkloristics: An introduction. Indiana: Indiana University Press.

Homfung, C. and Ruamsuk, S. (2016). Folklore teaching with development 21st century skills of learner and enhancement pride in Thai wisdom. Veridian, 9(2), 1549-1563. [In Thai]

Jun, F. (2014). Chinese chess playing in Thai society: Background and development. (Master’s thesis, Huachiew Chalermprakiet University). [In Thai]

Leach, M. (1984). Standard dictionary of folklore, mythology, and legend. New York: Funk & Wagnalls.

Luangluang, P. and Buahom, K. (2020). Benefits of folklore mentioned in “WannakhadiLamnam”, a set of secondary school book toward Thai literature. Sakon Nakhon: Kasetsart University, Chaloem Phrakiat Campus Sakon Nakhon Province. [In Thai]

Marknuan, P. (2013). The role and transmission of magic and ritual in folk healers at Ban Nong Khao Changwat Kanchanaburi. (Master’s thesis, Chulalongkorn University). [In Thai]

Nathalang, S. (2020). Folklore theory: Methodology for analyzing legends and folktales. (4th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]

Nimmanhaemin, P. (2000). Folktale studies. Bangkok: Faculty of Arts Textbook Project Chulalongkorn University.

Office of The Basic Education Commission. (2021). Basic course book, Thai language, literary appreciation. Mathayom 1 level. (15th ed.). Bangkok: SKSC Printing House, Lat Phrao. [In Thai]

Petcharoen, S. (1994). An analytical study of folklore in Thai language related skill series textbook one for Mathayonsuksa one revised edition 2533. (Master’s thesis, Kasetsart University). [In Thai]

Sripachai, L. (2018). Luang Prabang spirits: Beliefs rituals and social roles in world heritage city. (Doctorate’ Dissertation, Khon Kaen University). In Thai]

Thompson, S. (1955). Motif-Index of folk literature. (6th ed.). Bloomington: Indiana University Press.

Utley, F. L. (1961). Folk literature: An operational definition. The Journal of American Folklore, 74(293), 193-206.

Wannakit, N. (2012). Motifs of supernatural birth in Jataka, Thai myths and folktales. Manutsayasat Wichakan, 19(2), 60-86. [In Thai]

Winithasathitkul, P. and Jiramethi, J. L. (2015). Folklore: beliefs and Thai society. MCU Humanities Review, 1(1), 31-44. [In Thai]