การออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: ชุมชนอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชุมชนอินทขิล คือ ชุมชนบริเวณขอบแอ่งที่ราบเมืองแกน มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานกว่า 700 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1801 มีภูมิปัญญาเชิงวัฒนธรรมเตาเผาเซรามิกโบราณเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ การขาดการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของชุมชนส่งผลให้ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมใกล้สูญหาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนอินทขิล สร้างแนวทางการจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิต และนำอัตลักษณ์ของชุมชนมาใช้ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต โดยใช้กรอบแนวคิดทางพหุทฤษฎีในเรื่องสภาพแวดล้อม อัตลักษณ์พื้นถิ่น การท่องเที่ยวชุมชน การอนุรักษ์ การมีส่วนร่วม และพิพิธภัณฑ์มีชีวิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ชาวชุมชน จำนวน 34 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน และตัวแทนของหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน วิธีวิจัยใช้การสำรวจเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสอบถามจากชุมชน เพื่อนำไปวิเคราะห์หาลักษณะเฉพาะ ปัญหา และความต้องการของชุมชน โดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของชุมชนอินทขิลมี 5 องค์ประกอบ 1) กายภาพพื้นที่ราบลุ่มสามลำน้ำ 2) วิวัฒนาการประวัติศาสตร์ชุมชน 3) องค์ประกอบหมู่บ้านชนบทล้านนา 4) พื้นที่เรียนรู้ทางวิถีชีวิตและวัฒนธรรม และ 5) ประเพณีและวัฒนธรรมชนบท ผลการศึกษาการออกแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ชุมชนอินทขิล มีดังนี้ 1) การสังเคราะห์ข้อมูลประวัติศาสตร์เชื่อมโยงเข้ากับพื้นที่ศักยภาพชุมชน 2) การเผยแพร่ข้อมูลอัตลักษณ์พื้นที่ศักยภาพเพื่อให้ชุมชนตรวจสอบ 3) การออกแบบปรับปรุงพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการชุมชนโดยการมีส่วนร่วม 4) การเข้าดำเนินกิจกรรมในพื้นที่วัฒนธรรม และ 5) การประเมินและสรุปผลโครงการ ซึ่งการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนนั้น ทุกขั้นตอนการดำเนินงานควรเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Bhattarabhatwong, P. (2021). Management evaluation of Inthakin Kiln Site Museum, Mae Tang, Chiang Mai. (Master thesis, Arts Cultural Management, College of Innovation, Thammasat University). [In Thai]
Chaleyjunya, P. and Boonyasurat, W. (2014). Museum Management of Inthakin Potteries Site (Muang Kaen) Mat Tang District, Chiang Mai Province with community participation. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 20(2.4), 137-142. [In Thai]
Cohen, J.M. and Uphoff, N. (1981). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. New York: Cornell University.
Faculty of Engineering, Chiang Mai University, Faculty of Economics, Chiang Mai University, Faculty of Architecture, Chiang Mai University, Faculty of Art and Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna, & Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Lanna. (2010). Conceptual design and feasibility for the living museum for Mae Hong Son City. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF). [In Thai]
Hamsupho, S. (2000). Population and development of quality of life. Bangkok: O.S. Printing House. [In Thai]
Kanokmongkol, N. (2011, January - March). Life has a museum Living museum of the Japanese people. Muang Boran Journal, (1), 124-133. [In Thai]
Musigakama, N., Chanphosi, K., & Toumcharoen, M. (1978). Museum studies. Bangkok: Thai Watana Panich. [In Thai]
Office of the Education Council. (2010). Integrating intellectual power to develop community learning centers. Bangkok: Foundation for the Development of Thai Education. [In Thai]
Oranratmanee, R. (2009). Vernacular architecture: architectural education, research and practice. Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang, (8), 56-66. [In Thai]
Pongnak, I. & Disatapunahu, S. (2015). The Communityidentity of The Ancient Town of U-Thong Suphanburi Province. Veridian E-Journal Slipakorn University, 8(3), 511-523. [In Thai]
Rattanachuchok, P. and Maneelert, C. (2022). Development of learning application on Intakhil kiln and earthenware production. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal, 14(3), 843-857. [In Thai]
Sitthithanyakij, P. (1994, June). Local Museum of Community Life. Art and Culture Magazine, (8), 81. [In Thai]
Tanupol, N., Peng-ont, D., Tanupol, S., Charungkhon, C., Poonoi, S., & Supalak, M. (2000). Development of ecotourism business in Bangpong Community, Sansai District, Chiang Mai. Thailand: Maejo University. [In Thai]
Thongpoon, S., Thongpoon, K., & Thongpoon, Kh. (2020). The community identity study for promoting tourism in Lanka Community, Suphanburi Province. In The 11th Hatyai National and International Conference, (pp. 948-953). 17 July 2020. Songkhla: Hatyai University. [In Thai]
Wattanakit, S. and Noisangiam, N. (2022). A study of community identity as a guideline for architectural design at Palian River Basin, Trang province. Parichart Journal, 35(1), 187-202. [In Thai]