การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2. พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ/กึ่งทดลอง รูปแบบ One-Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จำนวน 31 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนโครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ () ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t แบบทดสอบ t-test Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยหลังเรียน ( = 25.66, S.D. = 3.05) สูงกว่าก่อนเรียน ( = 15.10, S.D. = 1.5) t 17.07 นักศึกษามีสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 4.36, S.D. = 0.53) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D.= 0.58)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Bender, W. N. & Waller, L. (2011). The teaching revolution. Corwin: California.
Boonpanya, S. (2023). Learning management design emphasizing active learning process to develop student competency according to the PLPSA + PBL model. Journal of Teacher Professional Development, 4(1), 1-15. [In Thai]
Bruner, J. S. (1967). Knowing: Essays for the left hand. Cambridge, Mass: Harvard University Press.
Dewey, J. (1975). Experience & education. New York: Littlefield, Adam & Co.
Johnson, D. W., Johnson, R. T., & Holubec, E. J. (1994). The nuts and bolts of cooperative learning. Edina, Minnissota: Interaction Book.
Khaemmanee, T. (2005). Gourmet menu, selected learning management plan. Bangkok: Pattana Academic Quality. [In Thai]
Khaemmanee, T. (2008). 14 teaching model for professional teachers. (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. [In Thai]
Kitrungraung, P., Sirisumpun, A., Homchaiyawong, D & Urabunnualchat, W. (2021). Paradigm shift: Teaching by project-based learning to enhance the essential skill of student in Thailand 4.0 era. Journal of Education, 15(2), 16-30. [In Thai].
Kongaroon, K. (2023). Competency study of mathematics teacher students, Phetchabun Rajabhat University. Journal of Graduate Studies, Chiang Rai Rajabhat University, 16(3), 29-44. [In Thai]
Laolearndee, W., Kitrungraung, P. & Sirisumpun, A. (2017). Develop thinking skills and enhance the quality of education. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing. [In Thai]
Preumsamrankit, P. (2018). Factors affecting learners' 21st century skills. Valaya Alongkorn Review, 7(3), 118-120.
Phuchumni, W. (2021). Development of teacher competency on learning management in the 21st century: a case of Ban Natan Khamkha school. (Ph.D thesis, Educational Administration, Graduate School, Sakon Nakhon Rajabhat University). [In Thai]
Pruettipuranee, T. & Intarak, P. (2020). Development of teacher Competencies during the National Strategy. The Journal of Research and Academics, 5(6), 87-98. [In Thai]
Kuder, G. F. & Richardson, M. W., (1937). Theory of estimating the reliability of the Psychometrika test, 2(3), 151–160.
Seangpan, K. (2019). Development of project-based learning management mode in conjunction with social media online to enhance communication speaking skills for student teachers. (Ph.D thesis, Curriculum and Instruction (Teaching Thai), Graduate School, Silpakorn University). [In Thai]
Tammawoharl, S. (2022). Teacher characteristics that enhance learning management in the era of education 4.0. Journal of Educational Studies, 16(1), 1-13.