การศึกษากลวิธีการแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยในการ์ตูนจีนแนวแฟนตาซี เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูตถังซาน (斗罗大陆)

Main Article Content

จิราพร ปาสาจะ
กนกพร นุ่มทอง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ในการ์ตูนแนวแฟนตาซี เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูติถังซาน (斗罗大陆) จากภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยรวบรวมชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ของตัวละครจากการ์ตูน เรื่อง ตำนานจอมยุทธ์ภูติถังซาน ที่มีการแปลคำบรรยายจีนเป็นไทยผ่านแอปพลิเคชัน We TV ภาค 1-4 ตอนที่ 1-264 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลรายชื่อเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และจำแนกประเภทกลวิธีการแปล นำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มีการแปลชื่อทักษะและชื่อพลังการต่อสู้จากภาษาจีนเป็นภาษาไทยจำนวนทั้งสิ้น 509 ชื่อ โดยผู้แปลใช้กลวิธีการแปล 3 แบบ ได้แก่ 1. การแปลความหมาย จำนวน 420 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 82.51  2. การแปลผสมระหว่างการแปลความหมายกับการทับศัพท์ จำนวน 26 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 5.10 และ 3. การตั้งชื่อใหม่โดยอิงชื่อตามภาษาต้นฉบับ จำนวน 63 ชื่อ คิดเป็นร้อยละ 12.37 ผู้แปลมีแนวโน้มในการแปลชื่อเฉพาะโดยใช้กลวิธีการแปลความหมายมากที่สุดเพื่อต้องการสื่อความหมายให้ผู้รับชมเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช้วิธีการทับศัพท์โดยไม่จำเป็น ทั้งนี้มีปัจจัย 3 ประการ คือ 1. อิทธิพลจากสื่อบันเทิงแนวกำลังภายในในอดีตส่งผลมาถึงปัจจุบัน 2. กลวิธีการแปลมีความสัมพันธ์กับลักษณะการตั้งชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ 3. มีแนวโน้มในการเลือกภาษาจีนกลางที่ใช้ทับศัพท์เมื่อแปลชื่อเฉพาะ นอกจากนี้ยังพบข้อผิดพลาดในการแปล 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. การแปลความหมายผิด 2. การเลือกใช้คำแปลชื่อทักษะและพลังการต่อสู้ไม่เป็นเอกภาพ 3. การสะกดคำผิดโดยใช้รูปวรรณยุกต์ผิด ซึ่งมาจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ 1. ผู้แปลมิได้มีคนเดียว มีการแบ่งตอนกันแปลโดยไม่ได้เจรจาตกลงกันเรื่องการเลือกใช้คำศัพท์ให้เป็นเอกภาพ และ 2. เนื้อหาคำบรรยายฉบับแปลไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Duangmala, V. & Numtong, K. (2022). A study of translation strategies and errors in translating cultural words and phrases from Thai to Chinese in “Rang Zong” movie subtitles. Chinese Studies Journal. Kasetsart University, 15(2), 251-291. [In Thai]

Gong, S. F. (2019). Research on translation of the culture – loaded word in Chinese cartoons ——Take “Uproar in heaven” and “Nezha conquers the dragon king” as examples. Journal of Xinzhou Teacher University. Xinzhou Teacher University, 35(3), 83-87. [In Chinese]

Jantapan, K. & Chawla, C. (2022). An analysis of strategies used in translating Chinese period drama (古装) titles into Thai. Chinese Studies Journal. Kasetsart University, 15(1), 33-71. [In Thai]

Kittopakarnkit, K. (2020). Translating Thai horror film titles into Chinese: Strategies and analysis. Life Sciences and Environment Journal. Pibulsongkram Rajabhat University, 21(2), 354–373. [In Thai]

Nida, E. A. & Taber, C. R. (1969). The theory and practice of translation, with special reference to bible translating. Leiden: E.J Brill.

Numtong, K. (2009). A study of the translation of Chinese literature on Sai Han during the reign of King Rama I. Journal of Studies in the Field of Humanities. Kasetsart University, 16(2), 86-98. [In Thai]

Numtong, K. & Likhidcharoentham, S. (2019). Principles and precautions in translating Chinese-Thai language and Thai-Chinese language. Chinese Studies Journal. Kasetsart University, 12(2), 105-151. [In Thai]

Numtong, K. (2022). The translation techniques for Chinese fictional prose into Thai: From past to present. Sinsat: Liberal Arts Thesis for the 60th Anniversary of the Faculty of Liberal Arts Thammasat University (pp. 525-565). Nonthauri: Read Journal. [In Thai]

Pinpongsub, J. (2018). The method of translating the title of Thai movies to Chinese. Veridian E Journal: Humanities, Social Sciences and Arts. Silpakorn University, 11(3), 1471-1491. [In Thai]

Pongprasit, T. & Petcharathip, K. (2021). A study of characteristics and strategies for translating prohibited words in the Chinese to Thai subtitles of the Chinese Boys’ love series: A case study of the boys love series “Addicted”. Chinese Studies Journal. Kasetsart University, 14(2), 265-306. [In Thai]

Saengjantanu, E. (2020). Translating Thai drama titles and Thai TV series titles into Chinese: Strategies and analysis. Journal of Humanities. Chiang Mai University, 21(1), 116-136. [In Thai]

Saibua, S. (2017). Principles of translation. (9th ed.). Bangkok: Thammasat University Press. [In Thai]

Srivichien, Y. & Netsombutphol, J. (2021). Translation strategies of Chinese series titles in WeTV application to Thai languange. Journal of Humanities and Social Sciences. Suratthani Rajabhat University, 13(2), 155-175. [In Thai]

Tosanguan, K. (2022). A study of Thai translation name patterns of Chinese horror films titles from 1980 to 2013. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 52-67. [In Thai]

Woralaknakul, M. (2017). An analytical study of the methods used in translating the martial arts novel, Lian Cheng Jue (A Deadly Secret). Journal of Humanities and Social Sciences Prince of Songkla University, 13(2), 79-103. [In Thai]

Wen, R. M. (2022). Subtitle Translation of Chinese Animated Film from the Perspective of Adaptation Theory: Nezha, I Am the Destiny as an Example. Open Access Library Journal, 9, 1-9.

Zhang, W. (2020). Soul land (斗罗大陆). Retrieved from https://shorturl.asia/iB1qI [In Thai]