การใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กรรณิการ์ จำปี
นทัต อัศภาภรณ์
ศักดา สวาทะนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบหนังสือเรียนแบบดิจิทัลที่ใช้ควบคู่กับวิธีการสอนแบบอุปนัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) สร้างและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบระดับสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล และ 4) ศึกษาระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านป่าเหมือด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล หนังสือเรียนแบบดิจิทัล แบบประเมินสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง และแบบทดสอบสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยนำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือเรียนแบบดิจิทัลที่ใช้ควบคู่กับวิธีการสอนแบบอุปนัยเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองที่สร้างขึ้น โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.05) 2) ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษและการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.81 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04) 3) ระดับสมรรถนะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล จากระดับกำลังพัฒนาเป็นระดับสามารถ 4) ระดับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับหนังสือเรียนแบบดิจิทัล จากระดับกำลังพัฒนาเป็นระดับสามารถ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Centre for Teaching Excellence, University of Waterloo. (2023). Self-directed learning. Retrieved from https://uwaterloo.ca/centre-for-teaching-excellence/catalogs/tip-sheets/self-directed-learning-four-step-process

Fleming, N. D. and Mills, C. (2008). VARK a guide to learning styles. Retrieved from https://www.verywellmind.com/vark-learning-styles-2795156

Hoiruddin, M. and Ulfa, M. S. (2020). Inductive approach used in teaching speaking skill. Jurnal Ilmiah Bahasa, 4(2), 105-133.

Lee, Y. J. (2019). Integrating multimodal technologies with VARK strategies for learning and teaching EFL presentation: An investigation into learners’ achievements and perceptions of the learning process. Australian Journal of Applied Linguistics, 2(1), 17-31.

Krashen, S. (1981). Second language acquisition and foreign language learning. New York: Pergamon Press.

Khammanee, T. (2023a). 14 teaching methods for professional teachers. (14th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Khammanee, T. (2023b). The art of teaching: Knowledge for effective learning process management. (26th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Kilbane, C. R. and Milman, N. B. (2014). Teaching models: Designing instruction for 21st century learners. Boston, MA: Pearson.

Koehler, M. J. and Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK)?. Contemporary Issues in Technology and Teacher Education, 9(1), 60-70.

Kongwimon, W. (2018). Development of electronic books for producing teaching materials for primary school teachers. (Master's Thesis in Educational Technology, Faculty of Education, Burapha University). [In Thai]

Laohajaratsang, T. (2018). Innovative educational information technology for the Thailand 4.0 Era. Chiang Mai: Chiang Mai University. [In Thai]

McGriff, S. J. (2008). ADDIE model. Retrieved from https://wikieducator.org/File:ADDIE_model_diagram_by_McGriff.gif

Ministry of Education. (2017). The basic education core curriculum b.e. 2551 (Revised 2017). Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Printing House. [In Thai]

Ministry of Education. (2022a). Competency-based Education: Basic Education Curriculum Development Project, Buddhist Era .... (Competency-based Curriculum). Bangkok: 21 Century. [In Thai]

Ministry of Education. (2022b). Handbook for using competency assessment tools for students, level 2, grades 4-6. Bangkok: Aksorn Thai Printing Partnership Limited. [In Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2022). Competency - based education. Retrieved from https://cbethailand.com/

Srisa-ard, B. (2017). Basic research. (10th ed.). Bangkok: Suriviyasnan.