การศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความต้องการ ในการออกกำลังกายของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความต้องการการออกกำลังกาย ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 361 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิโดยคำนวณตามสัดส่วน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .88 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .76 และแบบสอบถามเพื่อการวิจัย ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .92 และมีค่า ความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษา แบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง ดังนี้ 1.1) นักศึกษาชาย พบว่า ด้านดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับปกติ ( =21.39) ด้านนั่งงอตัวไปข้างหน้า อยู่ในระดับปานกลาง ( =15.55) ด้านลุก-นั่ง 1 นาที อยู่ในระดับดีมาก ( =26.76) ด้านดันพื้น 30 วินาที อยู่ในระดับดีมาก ( =42.93) และด้านเดิน/วิ่ง 2.4 กิโลเมตร อยู่ในระดับปานกลาง ( =12.35) 1.2) นักศึกษาหญิง พบว่า ด้านดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับปกติ (=21.82) ด้านนั่งงอตัวไปข้างหน้า อยู่ในระดับปานกลาง (=11.57) ด้านลุก-นั่ง 1 นาที อยู่ในระดับปานกลาง (=16.37) ด้านดันพื้น 30 วินาที อยู่ในระดับดีมาก (=34.48) และด้านเดิน/วิ่ง 2.4 กิโลเมตร อยู่ในระดับต่ำมาก (=22.58) 2) ระดับความต้องการการออกกำลังกายของนักศึกษา พบว่า ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการออกกำลังกาย อยู่ในระดับมาก (=3.60) ด้านการจัดการและให้บริการของบุคลากร อยู่ในระดับมาก (=3.58) และด้านชนิดของกิจกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลาง (=3.41)
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี, “สารสนเทศ 1/2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, เอกสารลำดับที่ 006/2556 ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2556.
3 คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553”, กรุงเทพเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2553.
4 จีรนันท์ ปรีชาชาญ, “สภาพความต้องการ การออกกำลังกายของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2550”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2551.
5 ชัยยุทธ ศิริกุลพิทักษ์, “สภาพและความต้องการ การออกกำลังกายของประชาชนในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในเขตเทศบาลนครตรัง ปี พ.ศ. 2548”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2548.
6 บุญส่ง โกสะ, “วิธีวิจัยทางพลศึกษา”, ภาควิชาพลศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, 2542.
7 พิทยา ตุลาธร, “ระดับสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและความต้องการการออกกำลังกาย ของนักเรียนโรงเรียนจิตรลดา ปีการศึกษา 2552”วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2553.
8 พูลสวัสดิ์ บุตรรัตน์, “ความต้องการในการออกกำลังกายของครูในจังหวัดแพร่”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2539.
9 พิชิต ภูติจันทร์, “การฝึกน้ำหนักเบื้องต้น”, กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, 2547.
10 หลุย จำปาเทศ, “จิตวิทยาการจูงใจ”, กรุงเทพมหานคร : สามัคคีสาส์น, 2533.