จริยธรรมการตีพิมพ์  (Publication Ehtics)

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1. บทความของผู้นิพนธ์ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

2. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนี้จริง

3. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาหรืออ้างอิงในเนื้อหา และท้ายบทความของตนเอง  โดยบทความที่ท่านส่งเข้ามาต้องไม่มีความซ้ำซ้อนของข้อความ เกินร้อยละ 25  จากการตรวจสอบด้วยโปรแกรม CopyCatch ของระบบ thaijo 

4. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่นการตีพิมพ์ และไม่นำบทความไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่นๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว

5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ตรงตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ในคำแนะนำของวารสารอย่างถูกต้อง

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมินบทความ  ( Duties of Reviewers)

1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก โดยพิจารณาบทความด้วยหลักการและเหตุผลทางวิชาการ โดยปราศจากอคติ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์

2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องรักษาระยะเวลาในการตรวจประเมินตามกรอบเวลาที่กำหนด และไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่ได้ตรวจประเมินอย่างแท้จริง

4. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากบทความที่ตรวจประเมินโดยเด็ดขาด

5. หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่าบทความที่ตรวจพิจารณา มีการคัดลอกผลงานจากที่อื่นๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบทันที หรือปฏิเสธบทความนั้นไม่ผ่านการตรวจประเมิน

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ Duties of Editors)

1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อรับดารตีพิมพ์ในวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของบทความที่ส่งกับเป้าหมาย ขอบเขตของวารสาร และตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนตีพิมพ์

2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้งปราศจากอคติที่มีต่อบทความ ผู้นิพนธ์ และสังกัดของผู้นิพนธ์

3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจ และนำไปเป็นผลงานของตน

4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่แก้ไขผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ ยึดผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิเป็นหลัก

5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด

6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการตรวจสอบพบว่าบทความที่ตรวจพิจารณา มีการคัดลอกผลงานจากที่อื่นๆ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบทันที และปฏิเสธบทความนั้นไม่ผ่านการลงตีพิมพ์

7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นิพนธ์ ให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง

8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว

 

จริยธรรมวิจัยในมนุษย์ (Ethics)

            บทความวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์  จะต้องได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ จึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร