การศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 110 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในภาพรวมสภาพการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายขั้น พบว่าขั้นที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูงสุด ได้แก่ ขั้นการจัดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา รองลงมา ได้แก่ ขั้นการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและต่ำที่สุด ได้แก่ ขั้นการเรียบเรียงเป็นหลักสูตรสถานศึกษา 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในภาพรวมปัญหาการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยและขั้นที่อยู่ในระดับปานกลาง 3 ขั้นเมื่อพิจารณาแต่ละขั้นพบว่า ขั้นที่มีปัญหาสูงสุด ได้แก่ ขั้นการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมาขั้นการออกแบบการเรียนรู้ และขั้นการจัดทำคำอธิบายรายวิชาของหลักสูตรสถานศึกษา 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง สรุป คือ ขั้นการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการแต่งตั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการ ร่วมประชุมวางแผน ในการออกแบบกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถานศึกษากำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้ผู้เรียนเลือกเรียน ตามความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ขั้นการออกแบบการเรียนรู้ของหลักสูตรสถานศึกษา เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกำหนดและออกแบบการเรียนรู้ ร่วมจัดหาสื่อ จัดทำสื่อ และการใช้แหล่งเรียนรู้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา และขั้นการจัดทำคำอธิบายรายวิชา เชิญภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อวางแผนในการจัดทำคำอธิบาย รายวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐาน การเรียนรู้
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 กระทรวงศึกษาธิการ, “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”, กรุงเทพฯ : กระทรวงฯ, 2551, หน้า 23-24,29.
3 ธงชัย ช่อพฤกษา, “การบริหารหลักสูตรของสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, กำแพงเพชร : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, ถ่ายเอกสาร, 2548, หน้า 3-5.
4 กระทรวงศึกษาธิการ, “การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา(ฉบับปรับปรุงใหม่)”,กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546, หน้า1-38.
5 มานพ สกลศิลป์ศิริ, “โรงเรียนดีและมีประสิทธิภาพ,”วารสารครูขอนแก่น เขต 1.1(2):2 - 3 ; เมษายน – มิถุนายน, 2548.
6 เสกสรรค์ อรรถยานันท์, “(5 กรกฏาคม 2556) สัมภาษณ์” ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง, 2556.
7 ธีระ รุญเจริญ, “สภาพการปัญหาบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย”, กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น, 2545, หน้า 138-139.
8 Krejcie, Robert V. and Morgan, DaryleW, “Determining Sample Size for Research Activities” Journal of Education and Psychological Measurement, 4(5) : 4483-A. June 1970, page 607-610.
9 สุชาติ ทองมา, “การเปรียบเทียบกระบวนการบริหารการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยาเขต 1 และเขต 2 ที่มีพื้นฐานความรู้ทางการบริหารการศึกษาและ ประสบการณ์ฝึกอบรมแตกต่างกัน” วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา), พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2548.
10 มีชัย พลภูงา, “สภาพและปัญหาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดมหาสารคาม”, วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.
11 ชูศักดิ์ จิตรีวรรณ์, “การศึกษาปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3, วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)”, ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.
12 สุมล ผกามาศ, "สภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนนำร่อง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตภาคเหนือตอนบน", กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.