การพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น เทศบาลตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นเทศบาลตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ (1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีท้องถิ่น (2) พัฒนาระบบและเครื่องมือที่จะช่วยจัดเก็บภาษีท้องถิ่น และ (3) จัดทำตัวแบบการจัดเก็บภาษีที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคม โดยจัดเก็บข้อมูลกับผู้บริหารท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ และประชาชน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาแล้วสร้างข้อสรุป เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี เทศบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่และภาษีป้าย และเทศบาลสามารถจัดเก็บภาษีอื่นได้ สำหรับความรู้ความเข้าใจอยู่ระดับน้อย ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่นแต่ละประเภท บทกำหนดโทษในการไม่ชำระภาษี การคำนวณภาษีและการผ่อนชำระค่าภาษี (2) ปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน และ (3) นำระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน สำหรับฝ่ายการเมืองควรออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดราคาค่าเช่ากลางให้เป็นปัจจุบันและจัดเก็บภาษีตามความเจริญของพื้นที่ เพิ่มช่องทางการให้บริการรับชำระภาษี และเร่งรัดติดตามผู้ค้างชำระอย่างต่อเนื่อง หากไม่ชำระภาษีจึงใช้มาตรการบังคับคดีทางปกครอง
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 วันธยา สุวรรณอักษร, “ปัญหาทางกฎหมายในระบบการบริหารการจัดเก็บภาษีค้างชำระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,” วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
3 นฤมล เหรียญเจริญ”, “ความคิดเห็นของประชาชนในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลหน้าประดู่ ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลหน้าประดู่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี,” การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2550.
4 พาเกียรติ สมานบุตร และคณะ, การเพิ่มขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บภาษีน้ำมัน, กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2553.
5 สุกัญญา สันป่าแก้ว. “ปัญหาและแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองน่านจังหวัดน่าน,” การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์, 2551.
6 วรารัตน์ จารนาเพียง, “การปรับปรุงกระบวนการในการจัดเก็บภาษี,” วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1, 2553.
7 ปกาศิต เจิมรอด, “ปัญหาทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่,” สหศาสตร์ศรีปทุมชลบุรี, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, 2554.
8 วาสน์ ถาปินตา และสุจินต์ สิมารักษ์, “ความสูญเสียทางการเงินของการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด,” วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, 2554.
9 ธนาพร วงศ์ภิรักษ์, “การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะแก้ว,” วารสารการบริหารท้องถิ่น. ปีที่ 6, ฉบับที่ 3, 2556.
10 วาสนา ขอนทอง และคณะ, “แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกำแพงเพชร,” สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1, 2553.