แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

ประภาภรณ์ พลรักษ์
นริสานันท์ เดชสุระ
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ดำเนินการวิจัย 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้  คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 เสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2  ตอน ตอนที่ 1 สร้างแนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวน  5  คน  โดยการเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน  โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีการปฏิบัติการนิเทศอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ได้แก่  ด้านการดำเนินการนิเทศ รองลงมาคือด้านการประเมินผลการนิเทศ ด้านการวางแผนการนิเทศ  และด้านการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการนิเทศ 2) แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ที่สร้างขึ้นโดยมีความตรงตามเนื้อหา  โครงสร้าง  และหลักวิชาการ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 4 ด้าน 37 รายการปฏิบัติได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 9 รายการปฏิบัติ 2) ด้านการวางแผนการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย  10 รายการปฏิบัติ 3)ด้านการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 8 รายการปฏิบัติ และ 4) ด้านการประเมินผลการนิเทศภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 10 รายการปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สงัด อุทรานันท์, “การนิเทศการศึกษาหลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ”, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2530, หน้า. 116.
2 วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์, “หลักการนิเทศการศึกษา”, กรุงเทพ ฯ : พรศิวการพิมพ์, 2538, หน้า. 26.
3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา, “เอกสารแนวทางการนิเทศการศึกษา”, ม.ป.ป., 2556, หน้า. 3.
4 Krejcie, R.V. and Morgan, D.W., “Determining Sample Size for Research Activities,” Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 1977, p. 608-610.
5 พวงรัตน์ ทวีรัตน์, “วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์”, กรุงเทพ ฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ, 2543, หน้า. 86-87,117.
6 บุญเรียง ขจรศิลป์, “วิธีวิจัยทางการศึกษา”, กรุงเทพฯ : บี เอ็น การพิมพ์, 2543, หน้า. 49.
7 ธานินทร์ ศิลป์จารุ, “การวิจัยและวิเคราะห้อมูลทางสถิติด้วยSPSSและMOS”, กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, พิมพ์ครั้งที่ 13, 2555, หน้า. 75.
8 พิบูลชัย ศรีเข้ม, “การศึกษาสภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียน สังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 10”, วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2553.
9 อัมพรกัญ บัวครอง, “การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2”, การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
10 สาย นพเทาว์, “ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการนิเทศภายในตามความคิดเห็นของครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2554.
11 ชาญชัย อาจิณสมาจาร, “การนิเทศการศึกษา Education Supervision”, กรุงเทพฯ, เคแอนด์พีบุ๊ค, 2547.
12 กันยา เจริญถ้อย, “การพัฒนาแนวปฏิบัติการนิเทศการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2553.
13 ฉวีวรรณ พันวัน, “การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2”, การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.