การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับการส่งเสริมการทำวิจัย ในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

ศิริรัตน์ พานนาค
อมรรัตน์ สนั่นเสียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2)  ศึกษาการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา  3)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับ การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2  จำนวน 322 คน  โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามคุณลักษณะผู้นำ เท่ากับ 0.92 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน เท่ากับ  0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า  1) ครูมีความคิดเห็นว่าคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับดี  เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน และด้านสติปัญญา 2) ครูมีความคิดเห็นว่าการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับดี  เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน  และด้านการให้การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และ 3) คุณลักษณะผู้นำกับการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา  เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำ (r = .378) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรทั้งสองมีความผันแปรร่วมกันประมาณร้อยละ 14

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชกรครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ 3)พ.ศ 2553”, กรุงเทพฯ, 2553.
2 กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553”, กรุงเทพฯ, 2553.
3 ดำริ งินสันเทียะ, “การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2”,รายงานการวิจัยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2, 2558.
4 บังอร จงสมจิตต์, “คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับการจัดการความรู้ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2”,วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.
5 ทิพวรรณ มะเจียกจร, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับวัฒนธรรมองค์กร ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร”, วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 3, กันยายน – ธันวาคม, 2558, หน้า. 39-46.
6 สมควร เหล่าประเสริฐ, “บทบาทของผู้บริหารด้านการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทเกษม, 2550.
7 สุชาติ จิตรพริ้ง, “ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการส่งเสริมการวิจัยของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษากลุ่มตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.