การกำหนดขีดความสามารถหลักและขีดความสามารถการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ประเภทโรงแรม ในจังหวัดรพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชเนตตี จาตุรนต์รัศมี

บทคัดย่อ

การกำหนดขีดความสามารถหลักและขีดความสามารถการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการประเภทโรงแรม ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์เพื่อการกําหนดขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) และขีดความสามารถการบริหารจัดการ (Managerial competency) ของบุคลากรในธุรกิจ เพื่อนําไปปรับใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยที่ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยที่การวิจัยเชิงคุณภาพจะนํามาใช้ในขั้นตอนของการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานตำแหน่งระดับบังคับบัญชาซึ่งเป็นพนักงานดีเด่น ซึ่งจะเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) และการวิจัยเชิงปริมาณจะถูกนํามาใช้ในขั้นตอนของการสํารวจ (Survey) ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงและพนักงานที่ดํารงตําแหน่งระดับผู้บริหาร โดยแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นจะถูกนำไปสำรวจโดยมีจำนวนประชากรทั้งหมด 42 คน ซึ่งเป็นพนักงานในตําแหน่งระดับผู้บริหาร จำนวน 6 คน และตําแหน่งผู้จัดการระดับแผนก จํานวน 36 คน ซึ่งมีความรับผิดชอบในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริหาร, ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดและการขาย, ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบัญชีและการเงิน, ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายซ่อมบำรุงรักษา, ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้จัดการทั่วไปฝ่ายประชาสัมพันธ์และบริการลูกค้า จากธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ ประเภทโรงแรม จำนวน 7 แห่ง ซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า


  1. ขีดความสามารถหลักของบุคลากร (Employee Core Competency) ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ของบุคลากร มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมุ่งเน้นลูกค้า 2) การมุ่งเน้นคุณภาพ 3) การวัดและ บริหารผลงาน 4) การทํางานเป็นทีม และ 5) การมุ่งสู่ผลสำเร็จ

  2. ขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ (Managerial Competency) ที่มีความจำเป็นต่อการ ปฏิบัติงานของบุคลากรในตำแหน่งผู้บริหาร มีจำนวน 10 ด้าน ประกอบด้วย 1) การมีสํานึกของความ รับผิดชอบ 2) การวางแผนและการบริหารทรัพยากร 3) การพัฒนาบุคลากร 4) การมุ่งลูกค้าเป็นเป้าหมาย

5) การบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6) ทักษะในการเจรจาต่อรอง 7) การบริหารจัดการและการประเมินเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของงาน 8) การประยุกต์ใช้ความรู้ 9) การบริหารจัดการเครือข่ายความสัมพันธ์ และ10)ความสามารถที่จะทำได้แม้มีสถานการณ์กดดัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ,“เครือข่ายวิสาหกิจ (คลัสเตอร์) เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันแนวทางการดำเนินงานและกรณีตัวอย่างบทเรียนการพัฒนาคลัสเตอร์ในประเทศไทย”, สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมภาค, สำนักนายกรัฐมนตรี, 2548.
2 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ, “ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2556- 2559)”, 2553.
3 สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. “สถานการณ์การท่องเที่ยวใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, 2553.
4 กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา, “แผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี (2557-2560) ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”, สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.ayutthaya.go.th/ plan1/template2/,
5 กองวิจัยตลาด, “ท่องเที่ยวไทยพร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2555.
6 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ, “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว”, 2557.
7 กีรติ ยศยิ่งยง, “ขีดความสามารถ : Competency Based Approach”, กรุงเทพฯ, บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด, 2549.
8 สุพิชชา โชคกิจรุ่งเรือง, จุฑามาศ เหลืองธวัชกุล, ฐิติรัตน์ ธรรมสวัสดิ์, ถิรนันท์ ประทุม, พรรณิภรณ์ บุญอริยทรัพย์, “การศึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่พัก จังหวัดนครปฐมในมุมมองของนักท่องเที่ยว. นครปฐม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 2546.
9 สงกรานต์ ถุงแก้ว, “การพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติบ้านต้นเกลือ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์”, วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, ปีที่ 4, ฉบับที่ 8 (มกราคม-มิถุนายน 2552), หน้า 77-85.
10 สำนักงานยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมห ภาค, “ยุทธศาสตร์การเพิ่มสมรรถนะและ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ”, 2557.
11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, “สรุปแผนส่งเสริม ตลาดการท่องเที่ยว” สำนักงานจังหวัด พระนครศรีอยุธยา, 2558.
12 วรางค์ศิริ ทรงศิล, “การกําหนดขีดความสามารถหลักและขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการของบุคลากร กรณีศึกษา: บริษัท เอ็น เอส เค แบริ่งส์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัด”, วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.
13 กัลยา ศรีธิ, “การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลใน เขตอำเภองาว จังหวัดลำปาง”, วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2553.
14 ธัญญ์กมน ทองตีมา, “การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวทางธรรมชาติตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์”, งานวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 2550.
15 ศิริรัตน์ พิริยธนาลัย, จุฑา เทพหัสดิน ณ อยุธยา, “Competency สมรรถนะเข้าใจใช้เป็นเห็นผล”, กรุงเทพฯ, บริษัท ซิกเนเจอร์ โซลูกชั่น จำกัด, 2554.
16 พัทธ์ธีรา รัชตะไพโรจน์, “การพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2553.
17 สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ, “แนวทางการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ด้วยCompetency Based Learning”, (พิมพ์ครั้งที่ 4) , กรุงเทพฯ, ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จํากัด (มหาชน), 2549.
18 สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาค. “อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย”, สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2557 จาก
http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=117
19 ธัญญลักษณ์ ประเสริฐวิทย์, นงนุช อังยุรีกุล, “ความสามารถในการแข่งขันของกาแฟอราบิก้าไทยภายใต้ข้อตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”, วิทยานิพนธ์สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554.