ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

กันยารัตน์ กลมกล่อม
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา 2) ศึกษาคุณภาพผู้เรียน และ     3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับคุณภาพผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 127 แห่ง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยวิธีการจับสลากจากกลุ่มตัวอย่าง โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 127 คน และครู จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วัฒนธรรมองค์การแบบสัมพันธ์เกื้อกูล รองลงมา คือ วัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมองค์การที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ วัฒนธรรมองค์การแบบปรับตัว 2) คุณภาพผู้เรียน อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มาตรฐานที่ 2 รองลงมา คือ มาตรฐานที่ 1 และมาตรฐานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มาตรฐานที่ 5 3) วัฒนธรรมองค์การแบบสายการบังคับบัญชา มีความสัมพันธ์ทางบวก กับคุณภาพผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ และวัฒนธรรมแบบปรับตัว วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ และวัฒนธรรมแบบสัมพันธ์เกื้อกูล ไม่มีความสัมพันธ์ กับผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียน โดยรวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 อัญชลี ธรรมะวิธีกุล, “การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา”, สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2559,สืบค้นจาก https://panchalee.wordpress.com/2009/03/27/.
2 จิรประภา อัครบวร, สร้างคนสร้างผลงาน, เต๋า, 2549.
3 มานิตย์ เมธานุภาพ, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการปฏิบัติงาน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตาก เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2551.
4 ละคร เขียนชานาจ, “วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.
5 นาตยา เกตุสมบูรณ์, การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2549.
6 ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์, พฤติกรรมองค์การ,ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
7 Cameron, K.S. & Quinn, R.E., “Diagnosing and changing organizational culture : Based on the competing values framework,” Addison Wesley, 1999.
8 Daft, R.L., “Essentials of organization theory and design,” South-Western College, 2001.
9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1, สรุปผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558, ผู้แต่ง, 2558.
10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, ผู้แต่ง, 2554.
11 Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., “Determining Sample Size for Research Activities”, Educational and Psychological Measurement, Vol.2, No.3, 1970, pp. 607-610.
12 สมาพร ภูวิจิตร, “รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีประสิทธิภาพ,” วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, 2558, หน้า 73 - 77.
13 สมหวัง อาลัยญาติ, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551