รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชน และเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ยศพนต์ สุธรรม
ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ
ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์
ปกรณ์ มณีปกรณ์

บทคัดย่อ

                    การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา 2) สร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา และ 3) ประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย เจ้าหน้าที่เรือนจำ คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน ญาติผู้ต้องขัง ผู้นำศาสนา  ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ ของกรมราชทัณฑ์ และผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการจัดกลุ่มสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้ต้องขังจำนวน 505 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลของการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา คือ สังคมมีทัศนคติในด้านลบต่อผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว การประสานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีงานรองรับหลังจากที่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษ สื่อ ข่าวสารที่สังคมได้รับเกี่ยวกับผู้ต้องขังที่พ้นโทษเป็นไปในด้านลบ ตลอดจนปัญหาที่สังคมไม่ตระหนักถึงความจำเป็นของการมีส่วนร่วมในการคืนคนดี  2) รูปแบบที่เหมาะสมในการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา ประกอบด้วยการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยในเรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การรับรองความประพฤติให้กับผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัว การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมทั้งในระหว่างต้องโทษและหลังพ้นโทษ การประสานงานระหว่างเรือนจำและศูนย์ยุติธรรมชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ต้องขัง  3) การประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา พบว่า รูปแบบดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาการมีส่วนร่วมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทราในการคืนคนดีสู่สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 กรมราชทัณฑ์ สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์, พันธมิตรภาคประชาสังคมกับการปลดปล่อยให้ผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคม, นนทบุรี , โรงพิมพ์ราชทัณฑ์, 2552.
2 กองพัฒนายุติธรรมชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม, คู่มือการปฏิบัติงานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน, 2558.
3 Cohen, J.M. , & Uphooff, N.T. (1977). Rural development participation : Concept and measures for project design implementation and evolution rural development committee center for international studies. New York : Longman.
4 โกวิทย์ พวงงาม, การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชน ประจำปี 2550, กรุงเทพมหานคร , บริษัทมิสเตอร์กอปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด , 2550.
5 กิตติพงศ์ กิตยารักษ์ ,การพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนในสังคมไทย, กรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว), 2550.
6 Stivers, & Camillam. (1990). Active Citizenship and Public Administration. In G.L. Wamsley, R. N. Bacher, C. T. Goodspell, P. S. Kronenberg, J. A. Rohr, C.M. Stivers, O. F. White, & J. F. Wolf (Eds.), Refunding public administration (pp. 246-273). CA: Sage Publication.
7 อัมพร ภูแก้ว, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาล ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2556.