คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

คนึงนิตย์ กิจวิธี

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21และเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1  จำแนกตามประสบการณ์การบริหารสถานศึกษาและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 128 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ  แบบสอบถามเรื่อง คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 46 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน  ด้านความซื่อสัตย์และคุณธรรม ด้านความมุ่งมั่นและพากเพียร มีคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด  ด้านการมีวิสัยทัศน์  ด้านการสร้างเครือข่ายชุมชน ด้านการเป็นนักคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์  และด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  มีคุณลักษณะอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การบริหารสถานศึกษาต่างกันมีคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยรวม รายด้าน และรายข้อไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ข้อ 3 ในด้านการเป็นนักคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ คือ มีความสามารถในการนำความคิดที่สร้างสรรค์ไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรม และข้อ 4 ในด้านการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี คือ มีความสามารถนำประชาชน/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรับรู้ในการดำเนินงานของโรงเรียน  พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3)  ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดต่างกันมีคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ในศตวรรษที่ 21 โดยรวม รายด้าน และรายข้อไม่แตกต่างกัน  ยกเว้น ข้อ 3 ในด้านการเป็นนักคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ คือ มีความสามารถในการนำความคิดที่สร้างสรรค์ไปสู่การสร้างและพัฒนานวัตกรรม และข้อ 7 ในด้านการมีวิสัยทัศน์ คือ มีผลสำเร็จของงานบริหารสถานศึกษาเป็นที่ประจักษ์  เช่น ได้รับเกียรติบัตรผู้บริหารดีเด่น  สถานศึกษาต้นแบบ ฯลฯ  พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.
2 ชาญชัย อาจินสมาจาร. การบริหารการศึกษาและทรัพยากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ, 2560.
3 ธีระพล นิลสาขา. ลักษณะของผู้นำที่ดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ม.ป.ท., 2542.
4 ชัยยนต์ เพาพาน. ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. รายงานการประชุมวิชการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยกาฬสินธ์, กาฬสินธ์, 2559.
5 Yamane, T. Elementary sampling theory. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall, 1967.
6 อุทัย ภักดีประยูรวงศ์. สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. รายงานการค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556.
7 กันดา กรึมสูงเนิน. การศึกษาสมรรถนะและแนวทางพัฒนาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2557.
8 ศรีภูมิ สุขหมั่น. การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสุรินทร์, 2552.
9 จิราวรรณ โคทนา. ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามความคิดเห็นของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 2553.