ผลการพัฒนาทัศนคติและสมรรถภาพทางกายของเด็กและเยาวชน ชุมชนโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยใช้การออกกำลังกายแบบแอโรบิค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทัศนคติต่อการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพทางกายของเด็กและเยาวชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กและเยาวชนในช่วงอายุ 10-14 ปี ที่อาศัยอยู่ในชุมชนโรงเหล้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบวัดทัศนคติต่อการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของสมาคมกีฬาสมัครเล่นแห่งประเทศญี่ปุ่น JASA สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test for Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติต่อการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการทดลองมีทัศนคติต่อการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลอง 2. กลุ่มเป้าหมายมีสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการทดลองมีสมรรถภาพทางกายสูงกว่าการทดลอง
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 ธงชัย สันติวงษ์, พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด, ไทยวัฒนาพานิช, 2539.
3 ปิติ พูนไชยศรี, “แอโรบิค..การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ,” จุลสารสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์, ฉบับที่ 4.
4 วีระพล สุทธิพรพลางกูร และเฉลียว แก่นจันทร์, “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์ชุมชน โครงการวนศาสตร์ชุมชนบนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่,” สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
กรมป่าไม้, 2538.
5 สุมิตร สมาหิโต, “การสร้างแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ,” วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์, ปีที่ 26, ฉบับที่ 2, 2548, หน้า 224-238.
6 อารี วัลยะเสวี และคณะ, “รูปแบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับสังคมไทยในสองทศวรรษหน้า,” มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2542.
7 อำพล จินดาวัฒนะ, ปฏิรูปสุขภาพปฏิรูปชีวิตและสังคม, สำนักงานปฏิรูประบบสุขแห่งชาติ, 2546.