การคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย : ศึกษากรณี เทศบาลนคร

Main Article Content

เกรียงไกร ปัญญาพงศธร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยและเงื่อนไขที่ทำให้เกิดคอร์รัปชันในเทศบาลนคร 2) รูปแบบการคอร์รัปชันในเทศบาลนคร และ 3) แนวทางในการควบคุมการคอร์รัปชันในเทศบาลนคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 16 ราย ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดคอร์รัปชันในเทศบาลนคร มีอย่างหลากหลาย ในเบื้องต้น เกิดจากปัจจัยในฐานะตัวบุคคล และช่องว่างของกฎหมาย นอกจากนั้น ปัจจัยทางการเมืองในระดับท้องถิ่น เป็นปัจจัยสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้ระดับความรุนแรงของการคอร์รัปชันในเทศบาลนครมีความรุนแรงมากขึ้น  โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ คือ ความร่วมมือกันของฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ กลไกภาครัฐอ่อนแอโดยเฉพาะการตรวจสอบจากกลไกภายในและภายนอกหน่วยงาน รวมถึง ค่านิยมของคนในสังคม ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย ความอ่อนแอของภาคประชาชน ภาคประชาสังคมในการต่อต้านคอร์รัปชันในภาพรวม 2) รูปแบบการคอร์รัปชันในเทศบาลนคร ได้แก่ การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง การทุจริตในการออกใบอนุญาต การทุจริตในการบริหารงานบุคคล การทุจริตด้านการเงินการบัญชี โดยมีสาเหตุ ปัจจัย และเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ในปัจจุบัน รูปแบบการทุจริตมีแนวโน้มสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยมีปัจจัยในทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดรูปแบบการทุจริตในเชิงนโยบาย และผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมืองท้องถิ่น 3) แนวทางในการควบคุมการคอร์รัปชันในเทศบาลนคร ได้แก่ การป้องกัน การปราบปราม การบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมา    ภิบาล และการสร้างจิตสำนึก ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้การควบคุมการคอร์รัปชันเป็นไปอย่างยั่งยืน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 ถวิล บุรีกุล และคณะ, “การปฏิรูปประเทศไทยด้านการต่อต้านการทุจริตและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเยาวชน”, สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ, 2559.
2 สังศิต พิริยะรังสรรค์, “คอร์รัปชัน : แนวคิดและความหมาย”, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.), 2551.______________________, “คอร์รัปชัน เชิงระบบ : นวัตกรรมที่ต้องควบคุม”, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.), 2553.
3 โกวิทย์ พวงงาม, “รายงานการศึกษาวิจัย แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างกลไกการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพฯ, 2550.
4 สมคิด เลิศไพฑูรย์ และคณะ, “รายงานการวิจัย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, สำนักงาน ป.ป.ช., กรุงเทพฯ, 2555.
5 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, “รายงานผลการศึกษา เรื่อง การกล่าวหา การชี้มูลความผิด ข้อทักท้วง และพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, ศูนย์ผลิตเอกสาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพฯ, 2559
6 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, “รายงานผลการศึกษา เรื่อง การกล่าวหา การชี้มูลความผิด ข้อทักท้วง และพฤติกรรมการกระทำความผิดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, ศูนย์ผลิตเอกสาร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรุงเทพฯ, 2559
7 สังศิต พิริยะรังสรรค์, “การลงโทษโดยสังคม (Social Sanctions)”, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ, 2559.
8 อคิน รพีพัฒน์, “ระบบอุปถัมภ์กับการพัฒนาสังคม: ด้านหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย”, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2550.
9 คณะกรรมการ ป.ป.ช., “มาตรการป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.), 2558
10 คณะกรรมการ ป.ป.ช., “ยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564)”, (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.), 2560.
11 สัญญา เคณาภูมิ, “กระบวนทัศน์ธรรมาภิบาล: กรอบแนวคิดทางการบริหารการปกครอง”, ในวารสารวิถีสังคมมนุษย์, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, มกราคม – มิถุนายน, 2559, หน้า 217-248.