การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความศรัทธาของครู ที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

สุพรรษา สังข์บุญชู
กีรติ ศรีวิเชียร

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับความศรัทธาของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษา และ3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความศรัทธาของครูที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 329 คน โดยใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .953 และแบบสอบถามความศรัทธาต่อผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .928 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก 2) ความศรัทธาของครูที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ทุกด้านร่วมกัน มีความสัมพันธ์กับความศรัทธาของครูที่มีต่อผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกด้านร่วมกันกำหนดความผันแปรของค่าความศรัทธาที่มีได้ร้อยละ 70.70 (R2=0.707) และเมื่อพิจารณาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีอิทธิพลกำหนดค่าความผันแปรของความศรัทธาที่ได้ โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อความศรัทธาที่มีต่อผู้บริหารมากที่สุดคือด้านความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมาได้แก่ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการกระตุ้น   ทางปัญญาและด้านการสร้างแรงบัลดาลใจตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สุรชิน วิเศษลา, “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4,” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย, 2551.
2 วิโรจน์ นามโส, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2557.
3 Hoy, W. & Kupersmith, W.J. “The Meaning and Measure of Faculty Trust”, Education and Psychological Research, Vol.5, No.1, 1985, pp.1-10.
4 บัณฑิต แท่นพิทักษ์, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ อำนาจ ความศรัทรา และความพึงพอใจใน งานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา,” ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
5 Bass, B.M. & Avolio, B.J., “Full leadership development”, SAGE, 1999.
6 Yamane, Taro. (1970). Statistics An Introductory Analysis P 580-581. New York: Harper and Row.
7 สุมาลี ละม่อม, “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษเขต 4,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 2553.
8 ฉัตรชัย ไชยมงค์, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของโรงเรียนที่เปิดสอนช่วงชั้นที่ 3-4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2552.
9 สิงหะ บุตรดี, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารและความศรัทธาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัด ราชบุรี,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, สถาบันราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง, 2546.
10 ไผท แถบเงิน, “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1,” วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 2552.