แนวปฏิบัติทางการวิเคราะห์จริยธรรมการวิจัยในขั้นตอนการดำเนินงาน วิจัยเชิงคุณภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ตลอดจนนำเสนอแนวปฏิบัติทางการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ครอบคลุมจริยธรรมการวิจัยในขั้นตอนต่างๆของการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนที่สำคัญอันได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะทำวิจัย เช่น การเลือกหัวข้อวิจัยโดยคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม เป็นต้น 2) ขั้นการออกแบบการวิจัย เช่น การเลือกรูปแบบ วิธีการ และเครื่องมือในการวิจัยมีการคำนึงถึงความเหมาะสมกับหัวข้อเรื่องวิจัยและกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการวิจัย เป็นต้น 3) ขั้นการเก็บข้อมูล เช่น การขออนุญาตในการเข้าพื้นที่วิจัย เป็นต้น 4) ขั้นการจดบันทึกและการถอดเทปสัมภาษณ์ เช่น การจดบันทึกและการถอดเทปการสัมภาษณ์มีการคำนึงถึงการเก็บรักษาความลับและการเคารพในตัวผู้ให้ข้อมูล เป็นต้น 5) ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น มีการให้ผู้ให้ข้อมูลมีส่วนร่วมในการตีความข้อมูลด้วย เป็นต้น 6) ขั้นการตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น มีการกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล เป็นต้น และ 7) ขั้นการรายงานผลการวิจัย เช่น ผลการศึกษามีธงปักไว้แล้ว เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อจะเป็นแนวทางให้กับนักวิจัยที่ทำงานวิจัยเชิงคุณภาพได้พึงยึดถือและพึงปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยให้ถูกต้อง เหมาะสม และเกิดเป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมต่อไป
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,“Collaborative Institutional Training Initiative (CITI Program), สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก https://sp.mahidol.ac.th /citi-mu.html.
3 ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, การกำกับดูแลโครงการวิจัยในคน, สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก https://sp.mahidol.ac.th/ management. html.
4 อัศวิน แสงพิกุล, จริยธรรมการวิจัย (Research Ethics), สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก www.ocsc.go.th/sites/default/files/.../ocsc-2558-proactive-recruitment-case-study.pdf.
5 Wiersma, W, “Research method in education: an Introduction” (5th ed.), USA: Allyn and Bacon, 1991.
6 Johnson, R. B., & Onwuegbuzie, A. J. “Mixed Methods Research: A Research Paradigm Whose time has come. ,” Educational Researcher, 33(7), 14-26., 2004.
7 เทพินทร์ พัชรานุรักษ์, “จริยธรรมในการวิจัยทางสังคมศาสตร์การแพทย์,” วารสารสังคมศาสตร์, 2(2549), หน้า 205-223, 2549.
8 สินธะวา คามดิษฐ์, วิธีวิจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว, กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2550.
9 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,จรรยาบรรณนักวิจัย, สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2560, สืบค้นจาก http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/ethic.htm
10 ชาย โพธิสิตา, ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพฯ, อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2554.
11 สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ และภัทร์ พลอยแหวน, “การพัฒนาการเรียนรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในงานวิจัยเชิงคุณภาพของนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,” วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 150-162, 2559