การเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา การเก็บข้อมูลทำโดย แบบสอบถามระดับความพร้อม แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2-4 ปี และ 4 ปี ชั้นปีที่ 2–4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 240 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น และวิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test ใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) การเตรียมความพร้อมของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลางในทุกด้าน แต่มีความพร้อมในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและความสามารถในการทำงานด้วยระบบเครือข่าย social network อยู่ในระดับมาก 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องประชาคมอาเซียน ก่อน-หลัง การอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 จิรภา แสนเกษม และคณะ, “การวิจัยทางธุรกิจ”, พิทักษ์อักษร, 2548.
3 นพดล สุสันติวาณิชย์กุล, “การศึกษาความพร้อมด้านเทคโนโลยีของสถานศึกษาอาชีวศึกษาไทย”, งานวิจัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2554
4 สมนึก ภัททิยธานี, “การประเมินผลและการสร้างแบบทดสอบ”, (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์, 2537
5 สมใจ กงเติม, “การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์”, งานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556.
6 กานดาวรรณ แก้วผาบ, “การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของนักศึกษา สาขาวิชาชีพบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” บทความวิจัยในโครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMARTS ครั้งที่ 3, 2555.
7 พระครูปลัดวีระนนท์ วีระนนฺโท และคณะ, “การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราชเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558”, บทความวิจัยใน โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMARTS ครั้งที่ 3, 2555.
8 นฤมล สุมรรคา, “ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชี เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษา สถานประกอบการ จังหวัดสระบุรี” การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.