การประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ศึกษาปัญหาในการดำเนินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินผลโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ได้แก่ โครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่ มีอาคาร สถานที่ ที่เหมาะสม ในการดำเนินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านกระบวนการ ได้แก่ มีการจัดประชุมเพื่อชี้แจงวิธีการดำเนินงานตามโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผลการดำเนินงาน ได้แก่ การได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนให้กับผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ปัญหาในการดำเนินงานโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผู้สูงอายุเดินทางมารับเงินเบี้ยยังชีพไม่สะดวก งบประมาณที่ผู้สูงอายุได้รับไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำไม่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2 นลินี โล่ชิงชัยฤทธิ์, “การประเมินผลการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่” ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.
3 บุษรา สามัญเขตกิจ, “การประเมินผลการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหนองปล้อง อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร” การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ, มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2553.
4 พรชนก ณรงค์มี, “การใช้แบบจำลอง CIPP ในการประเมินการรับเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเทศบาลนครนนทบุรี”วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมสงเคราะห์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.
5 สาทิพย์ ภู่ไหมพรหม, “การประเมินผลการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์” ปริญญารัฐประศาสนศาสตมหาบัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
6 สุชัญญา มะสิทธิ์, “การประเมินผลโครงการจัดสรรเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกงจังหวัดฉะเชิงเทรา”รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยของแก่น, 2553.
7 สุวรรณี ประมาณ, “การประเมินโครงการสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล บางบ่อ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ” ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโครงการและการประเมินโครงการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2552.