เงิน : ความหมายและความสำคัญ

Main Article Content

อัจฉรา หล่อตระกูล

บทคัดย่อ

               เงินจะเป็นอะไรก็ได้ที่ทุกคนในสังคมขณะนั้น ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องใช้วัดมูลค่าของสินค้าและบริการ และใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ในสมัยโบราณใช้การแลกเปลี่ยนของต่อของโดยตรง ต่อมาก็ใช้สิ่งของที่มีค่าเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนและพัฒนามาเป็นโลหะและกระดาษ จนเป็นเงินในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยก็มีวิวัฒนาการทางด้านการเงินมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนาน สมัยทวาราวดี อาณาจักรลพบุรี สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน เงินทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นเครื่องวัดมูลค่า เป็นเครื่องรักษามูลค่าและเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในภายหน้า เงินที่มีคุณลักษณะที่ดีต้องเป็นที่ยอมรับ มีความคงทนถาวร ขนย้ายได้ง่าย ดูออกง่าย มีค่าคงที่ มีค่าเท่ากัน แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ และเป็นของที่หายาก โดยค่าของเงินหมายถึง อำนาจซื้อของเงินแต่ละหน่วย ที่สามารถแบ่งได้เป็นค่าเงินภายในและค่าเงินภายนอก ทั้งนี้เงินเป็นสิ่งสำคัญในด้านการผลิต การแลกเปลี่ยน การอุปโภคบริโภค เงินตราเป็นหลักประกันที่มั่นคงในระบบแลกเปลี่ยน จึงมีความสำคัญในสังคมและระบบเศรษฐกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 Samuelson, Paul A, “Economics”, 11th ed, New York: McGraw-Hill, 1980.
2 Lipsey, Richard G., and Steiner Peter D., “Economics”, 6thed, New York: Harper & Row, 1981.
3 Laurence, M. Ball, “Money, Banking and Finacial Markets”, New York: Worth Publishers, 2009.
4 Szulczyk, Kenneth R., “Money, Banking and International Finance”, 2nded, 2014. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2557, สืบค้นจากhttp://www.scribd.com/doc/69328570/Money-Banking-and-International-Finance
5 จรินทร์ เทศวานิช, การเงินและการธนาคาร, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2545.
6 กฤษฎา สังขมณี, “การเงินและการธนาคาร”, กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2552.
7 สินีนาฏ สุภรณ์ไพบูลย์, เศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2546.