ช่องทางการรับรู้ข้อมูลและความพึงพอใจในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วินิจ อนันตวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการรับรู้ข้อมูลในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดยม กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลวัดยม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 178 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาในระดับประกาศวิชาชีพชั้นสูง อาชีพค้าขาย สถานภาพสมรส  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ใช้ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารที่สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วและเข้าใจง่ายดีที่สุด คือเสียงตามสาย ความถี่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านเสียงตามสายประชาชนรับรู้ประจำ ส่วนป้ายประชาสัมพันธ์และหนังสือราชการ ประชาชนรับรู้บางครั้ง ประชาชนต้องการให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางเสียงตามสาย และการออกหน่วยเคลื่อนที่พบประชาชน เดือนละครั้ง ส่วนป้ายประชาสัมพันธ์ และหนังสือราชการ 6 เดือนต่อครั้ง และต้องการให้เพิ่มหรือปรับปรุงช่องทางการรับรู้ คือ เสียงตามสาย รองลงมา เว็บไซต์ ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการให้บริการรับชำระภาษี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านกระบวนการให้บริการและประชาสัมพันธ์ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสถานที่หรือเครื่องมือที่ให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 “พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508, ราชกิจจานุเบกษา”,เล่ม 82, ตอนที่ 94, ฉบับพิเศษ, หน้า 6.
2 “พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ราชกิจจานุเบกษา”, เล่ม 84, ตอนที่ 114, ฉบับพิเศษ, หน้า 6.
3 “พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ราชกิจจานุเบกษา”, เล่ม 49, หน้า 51.
4 ฉลองเนตร บุดดี, “ช่องทางการรับรู้และความต้องการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย”, การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 2552.
5 อนุกูล จำเริญกุล, “ความคิดเห็นที่มีต่อการให้บริการด้านการจัดเก็บภาษีของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์”, รายงานการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์, 2553.