สภาพและปัญหาในการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

นุจริญ วงษ์สุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อสภาพในการจัดเก็บภาษีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อสภาพในการจัดเก็บภาษีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาในการจัดเก็บภาษีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่เสียภาษีในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน  295 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยการทดสอบด้วยค่าสถิติเอฟ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยการทดสอบด้วยวิธีแอลเอสดี โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยพบว่า  1) โดยรวมประชาชนมีความคิดเห็นต่อสภาพในการจัดเก็บภาษีภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดเก็บภาษีโดยรวมไม่แตกต่างกัน และประชาชนที่มีสถานภาพ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจัดเก็บภาษีโดยรวมแตกต่างกัน และ 3) ปัญหาการจัดเก็บภาษี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ขาดการสร้างความเข้าใจที่ดีในการจัดเก็บภาษี ขาดช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยและทั่วถึง และภาษีที่จัดเก็บมีหลายประเภทและมีความซ้ำซ้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 อธิวัฒน์ ปิยะนันท์, “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีของเทศบาล ตำบลในเขตจังหวัดสกลนคร”, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐ ประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2553.
2 ศจิษฐา บุญทา, “การเสริมสร้างความร่วมมือของประชาชนในการชำระภาษีให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา”, การศึกษาแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2553.
3 ปิยะพร แก้วทอง, “การพัฒนาการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลบ้านกรูด อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์”, การศึกษาแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
4 ชลิดา ศรีพิมาย, “แนวทางการพัฒนาการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา”, การศึกษาแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.