ระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวม ในบริบทของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมโดยการทบทวนวรรณกรรม และพัฒนากรอบการวิเคราะห์เพื่อเข้าใจปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมในบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมในบริบทของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากรูปแบบและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมที่ยากต่อการทำความเข้าใจ และไม่ส่งเสริมให้ประชาสังคมรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการอย่างแท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมที่ดำเนินการในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมในบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน กับกรอบแนวคิดการประเมินการมีส่วนร่วมของประชาสังคมที่แบ่งระดับการมีส่วนร่วม ออกเป็น 6 ระดับ พบ 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1) ขั้นตอนกำหนดเขตที่ดินที่จะทำการสำรวจเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมนั้น พบว่าภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในระดับไม่มีส่วนร่วม ซึ่งตามแนวคิดการมีส่วนร่วมที่ใช้ในการเปรียบเทียบในการศึกษานี้ เสนอแนะว่าควรจะอยู่ในระดับการให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) 2) ขั้นตอนการประชุมรับฟังความคิดเห็น อยู่ในระดับการปรึกษาหารือทางเดียว (Consult) หากแต่ตามข้อเสนอแนะ เสนอให้อยู่ในระดับที่ให้ประชาชนเข้ามามีบทบาท (Involve) และ 3) ขั้นตอนปิดประกาศ 90 วันและพิจารณาคำร้องของผู้มีส่วนได้เสีย อยู่ในระดับของการปรึกษาหารือทางเดียว ในขณะที่ตามข้อเสนอแนะเสนอให้อยู่ในระดับของการสร้างความร่วมมือ (Collaborate)
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (9 ธันวาคม 2557). ปัญหาผังเมืองแม่ลาน้อย. สืบค้นจากhttps://program.thaipbs. or.th/North/episodes/33193
Sherry R. Arnstein, “A Ladder of Citizen Participation,” Journal of the American Planning Association, Vol. 35, No. 4, pp. 216-224, July. 1969.
D. Burns, R. Hambleton and P. Hoggett, The Politics of Decentralization: Revitalizing Local Democracy, Palgrave, 1994.
D. Wilcox, the guide to EFFECTIVE PARTICIPATION, Delta Press, 1994.
OECD, Citizens as Partners INFORMATION, CONSULTATION AND PUBLIC PARTICIPATION IN POLICY-MAKING, OECD Publications Service, 2001.
T. Nabatchi, A Manager’s Guide to Evaluating Citizen Participation, Syracuse University, 2012.
โสภณ พรโชคชัย. (30 เมษายน 2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางผังเมือง. สืบค้นจาก http://www.area.co.th/thai/area_announce/area_anpg.php?strquey=area_announcement339.htm.
สุดารัตน์ อุทธารัตน์และคณะ, “การศึกษาผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่น กรณีการขาดอายุบังคับทางกฎหมายของผังเมืองรวมเมืองในพื้นที่ภาคเหนือ,” รายงานการวิจัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2556.
ปิยธิดา ปูชนียพงศกร และวราลักษณ์ คงอ้วน, “ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อมาตรการทางผังเมืองในการจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตเทศบาลเมืองเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี,” วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 99-111, 2554.
อมร บุญต่อ, “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองและกรอบเนื้อหาด้านการผังเมืองที่ภาครัฐสื่อสารกับ ประชาชน,” งานประชุมวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต Built Environment Research Associates Conference, BERAC ครั้งที่ 8, ปทุมธานี, 2560, หน้า 415 – 421.
อากร บัวคล้าย, “สมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการปฏิบัติภารกิจด้านการผังเมือง,” รายงานการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2548.
ฉวีวรรณ เด่นไพบูลย์ และคณะ, “การกระจายอำนาจในการวางผังเมืองรวมและรูปแบบการพัฒนาเมืองสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม,” รายงานการวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), 2555.