รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรณีการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่่

Main Article Content

ปัณณธร หอมบุญมา
จินตนา ตันสุวรรณนนท์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอรูปแบบการป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรณีการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใช้วิธีระเบียบวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มต้นด้วยวิจัยเชิงคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถาม กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมจำนวนทั้งสิ้น 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการป้องกันอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กรณีการร่วมกันฉ้อโกงประชาชนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ รูปแบบ LITERACY-MODEL ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) L=legal ด้านกฎหมาย คือ การจัดให้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลใช้บังคับเพื่อป้องกันการขายข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และเป็นการลดโอกาสการกระทำความผิด 2) I=International Cooperation คือ การจัดทำระบบฐานข้อมูลประวัติอาชญากรรมระหว่างประเทศและการทำข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ 3) T=Training and Supporting คือ การเพิ่มตำแหน่งพนักงานสอบสวนและผู้ช่วยพนักงานสอบสวนให้เพียงพอ และการจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง 4) E=Enforcement คือ การออกหลักเกณฑ์เชิงลงโทษกับธนาคารพาณิชย์เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมการแจ้งเตือนผู้ขอเปิดบัญชีใหม่ทุกครั้งเพื่อป้องกันการรับจ้างเปิดบัญชีและนำไปใช้กระทำความผิด 5) R=Reforming คือ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานปฏิบัติการขึ้นเฉพาะเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางสำหรับประสานและรับผิดชอบงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยให้มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ตามกฎหมาย 6) A=Acknowledge and Public Relation คือ การประชาสัมพันธ์แจ้งข้อมูลข่าวสาร ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชาญากรรม 7) Cy=Cyber Networking คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุภารักษ์ จูตระกูล, “4 SCREEN กับการแสวงหาข่าวสารในยุคหลอมรวมสื่อ,” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, 2554, หน้า. 28-42

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (3 พฤษภาคม 2562). ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. สืบค้นจาก http://www.nbtc.go.th/ getattachment/ Business/ commu/telecom/ตลาดโทรคมนาคม/ตลาดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่/pdf.aspx.

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. (1 พฤษภาคม 2562). เตือนภัยแก๊งค์ Call Center แอบอ้างเป็นตำรวจ บก.ปอ. สืบค้นจาก https://www.edpolice.com/ Index.php?modules=news&f=view&nes CatID=1&newx_id=63.

ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ, “สังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเบื้องต้น”, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2549.

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (5 พฤษภาคม 2562).อาชญากรรมข้ามชาติกับความมั่นคงของประเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นจากhttp://www.parliament.go.th/ Library.

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (25 พฤศจิกายน 2561). เตือนภัยกลุ่มมิจฉาชีพการหลอกลวงทางโทรศัพท์ (แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์).สืบค้นจาก https://dsi.go.th/ View?tid=T000151.

Best, John W, “Research in Education. 3 rd ed” Englewood Cliffs New Jersey, 1977.