การศึกษาสภาพการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสภาพการเรียนชีววิทยา ทำให้เห็นภาพการจัดการเรียนการสอนที่สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน รวมถึงหาแนวทาง หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะส่งเสริมการเรียนชีววิทยาให้มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นครูผู้สอนชีววิทยา 1,154 คน และนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนชีววิทยา 13,793 คน จากโรงเรียนทุกขนาด ทุกจังหวัดในภาคกลาง ใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเรียนชีววิทยา และใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สอนชีววิทยาจะต้องเป็นคนที่รัก ชอบและเห็นความสำคัญของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ชอบถ่ายทอด มีความสุขในการสอน สามารถให้คำแนะนำในการเรียนได้ รวมถึงต้องหมั่นหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องวาดรูปสวย ซึ่งในการจัดการเรียนรู้ต้องเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหา และใช้คำถามกระตุ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม แสดงความเห็น ให้ทำงานกลุ่ม และให้เรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ผู้สอนต้องใช้วิธีสอนที่สนุกสนาน มีเทคนิคต่างๆ ช่วยในการเรียนรู้ รวมถึงใช้การประเมินที่หลากหลาย และให้ผลป้อนกลับ ส่วนนักเรียนที่เรียนชีววิทยาต้องมีความสนใจ ชอบสังเกต ชอบเรียนรู้ ชอบอ่าน ทำการทดลองเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ต้องเข้าเรียน หมั่นซักถาม และทำข้อสอบสม่ำเสมอ รวมถึงสามารถสืบค้น และเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำศัพท์เฉพาะและเรียนพิเศษเพิ่มเติม โดยผู้ปกครองควรมีส่วนในการช่วยจัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการเรียน ให้คำแนะนำ คำปรึกษา กำลังใจ รวมถึงการเสริมแรงต่างๆ ที่ช่วยนักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และคอยติดตามผลการเรียน
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, 2553.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (20 ธันวาคม 2561). การเรียนแบบท่องจำ หรือ Rote Learning. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/ 73479.
จิตกาญจน์นันท์ ขันติวงศ์, “ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี”, ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์การศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2546.
นวลนาง สุยะพอ, “ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนกวดวิชาภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
สุรีวรรณ เกษน้อย, “การศึกษาความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติการทดลองชีววิทยาของนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมเทคนิคการปฏิบัติการทดลอง”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539.
นิภาพร พรรุ่งโรจน์, “การศึกษาทัศนคติและความเชื่อของครูที่มีต่อการสนับสนุนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกวดวิชา”, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2549.
ประมวล อิ่มพิกุล, “การศึกษาความต้องการเพิ่มสมรรถภาพการสอนของครูชีววิทยาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย”, ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2536.
กมลธร สิงห์ปรุ, “การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาชีววิทยาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียกับการสอนตามคู่มือครู สสวท. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”, ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2541.
สมนึก สุภัทธร, “การบริหารการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน”, ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2549.
ชวาลา ฤทธิ์ฤาชัย, “การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง คลื่นเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”, การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.