รูปแบบการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในประเทศไทย-ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 46 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา และผู้ติดตาม จำนวน 2,729 คน และการสนทนากลุ่มผู้มีความรู้และประสบการณ์ วิธีวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิธีการทางสถิติสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมาในประเทศไทย ได้แก่ ALINE MODEL ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) A = Applicable services ด้านการให้บริการที่เหมาะสมในทุกระดับตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงระบบฉุกเฉิน และการส่งต่อ 2) L = LAW กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ คำสั่ง มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบประกันสุขภาพและการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว 3) I = Integration การบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมโยงฐานข้อมูล กับประเทศต้นทางของบุคคล 4) E = Extended policy ด้านการกำหนดนโยบายรัฐบาล โดยการขยายกฎหมายหลักประกันสุขภาพ ให้ครอบคลุมทุกคนบนผืนแผนดินไทย 5) N = National Health Authority หน่วยงานกลางระดับชาติดูแลภาพรวมระบบประกันสุขภาพในระดับประเทศ รวมถึงระบบการเงิน การคลัง และการบริหารจัดการ
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางานกระทรวงแรงงาน. (5 กุมภาพันธ์ 2562) สถิติสถานการณ์แรงงานต่างด้าว พ.ศ.2550 - 2555. สืบค้นจากhttp://wp.doe.go. th/joomlawp/ index.php/2013-07.
3. วรวิทย์ เจริญเลิศ และบัณฑิตย์ ธนชัย เศรษฐวุฒิ,“นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐกับการจ้างแรงงานข้ามชาติ, นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.
4. ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, การประเมินจำนวนคนงานต่างชาติลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศ, กรุงเทพฯ:สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2539.
5. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, “การบริหารงานวิชาการ,กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2541.
6. อัจฉราพร ใจแก้ว, “พฤติกรรมการออมเงินของแรงงานชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร,” วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2556.
7. ขวัญชีวัน บัวแดง, “สุขภาพของแรงานข้ามชาติกับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐ,” วารสารสังคมศาสตร์, ฉบับที่ 20, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
8. ภัสสร ลิมานนท์ และ นริสรา พึ่งโพธิ์ สภา, “รายงานการทบทวนและสังเคราะห์ นโยบายเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการสุขภาพและการประกันสุขภาพภายใต้โครงการส่งเสริมการป้องกันเอดส์ในแรงงานข้ามชาติ,” พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์ไทย, 2553.
9. กิริยา กุลกลการ, การบริหารจัดการแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์, จากคอลัมน์ “ASEAN Insight” หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, 2557.
10. สุวิทย์ สัจจาสิทธิ์, “ความคิดเห็นของครูที่มีต่อแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าในพื้นที่จังหวัด ระนอง,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2546.
11. ละอองดาว มูลลา, “แรงงานต่างด้าวและผลกระทบ
ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองในเขตเทศบาล
เมืองแม่ฮ่องสอน,” วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.
12. ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ, “การตอบสนองของนโยบายและผลลัพธ์ของหลักประกันสุขภาพคนต่างด้าว และผู้ติดตามในประเทศ,” กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2559.
13. กฤตยา อาชวนิจกุล, “การจัดระบบคนไร้รัฐในบริบทประเทศไทย,” การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 ประชากรและสังคม 2554 จุดเปลี่ยนประชากรจุดเปลี่ยนสังคม, 1 กรกฎาคม 2554, กรุงเทพมหานคร, 2554.