การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลิตภาพ ของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล
กิตติวงค์ สาสวด

บทคัดย่อ

      วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบท และสภาพชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลิตภาพของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมผลิตภาพของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยสมาชิกชุมชนมหาสวัสดิ์ 364 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 13 คน ให้การสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน ที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเพื่อร่างรูปแบบการพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญอีก 7 ท่าน ที่ให้การรับรองความถูกต้องเหมาะสมของรูปแบบ


     ผลการศึกษาครั้งนี้มีดังต่อไปนี้ : ชุมชนมหาสวัสดิ์ เป็นชุมชนที่เกิดขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ที่โปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อใช้เป็นเส้นทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปัจจุบันมีการจัดการใช้ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมผลิตภาพชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบสำคัญในการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม มี 3 ด้าน คือ ทุนทางวัฒนธรรม ทุนมนุษย์ และทุนทางสังคม ซึ่งแต่ละด้านประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย และกระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จในการจัดการทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน และรูปแบบที่ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญพัฒนาขึ้น เรียกว่า รูปแบบศาลาดิน (SALADIN MODEL) ประกอบด้วยปัจจัยหลัก คือ 1) วัฒนธรรมการพึ่งตนเอง 2) วัฒนธรรมการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม    3) ภาวะผู้นำ 4) จิตสำนึกรับผิดชอบ 5) การยึดมั่นในกฎเกณฑ์ กติกา 6) การบูรณาการกิจกรรม และ7) การประสานพลังเครือข่าย


     ผู้วิจัยเสนอแนะให้ผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชนพึงตระหนักถึงความสำคัญของทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ในชุมชน และกระตุ้นให้บรรดาสมาชิกชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม และยั่งยืน    เพื่อว่าชาวชุมชนทั้งหลายจะสามารถพึ่งตนเอง และลดการพึ่งพาภายนอกได้มากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต), การพัฒนาที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 21, กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์, 2561.

ไสว บุญมา, หายนะ ฤาสิ้นอารยธรรม, กรุงเทพฯ:กรุงเทพธุรกิจ, 2555.

เสรี พงศ์พิศ,ร้อยคำที่ควรรู้, กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์, 2547.

ประเวศ วะสี, พลังขับเคลื่อนการจัดการตนเองบนแผ่นดินไทย, กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน, 2557.

E.F. Schumacher, เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย, 2557.

David M Smick, The Great Equalizer เศรษฐกิจภาคประชาชน, สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล แปล กรุงเทพฯ: ปัญญาชน, 2560.

Scott, James C. Weapon of the Weak: Everyday Forms of Peasant Resistance. New Haven: Yale University Press, 1985.

Yamane, Taro, Statistics: an introductory analysis, New York: Harper and Row, 1973.