การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .95 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารสถานศึกษามีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง รองลงมา คือ ด้านความทะเยอทะยาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความกระตือรือร้น 2) องค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านโครงสร้างองค์การ รองลงมา คือ ด้านรางวัลตอบแทนและการลงโทษ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการยินยอมให้มีการขัดแย้ง และ 3) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก กับองค์ประกอบของบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
สมพล จีรพรชัย, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับบรรยากาศองค์การสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก,”วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2550.
McCelland, D.C., The achievement society, Prentice Hall, 1961.
จารุวรรณ อะคะปัน, “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1,” การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2558.
Steers, R.M. & Porter, L., Motivation and work behavior, McGraw-Hill, 1979.
Brown, W.B. & Moberg, D.J., Organization theory and alienation : A macro approach, John Wiley & Sons, 1980.
Kelly, J., Organizational behavior : Its data, first principles and applications, Irwin, 1980.
DuBrin, Applying psychology : Individual and organizational effectiveess, Prentice-Hall, 1984.
ภพกมล มุขศรี, “ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.
Yamane, T., Statistics : An introductory analysis, Harper and. Row, 1973.
ศิรินภา พงษ์หล้า, “อำนาจพยากรณ์ของการรับรู้บรรยากาศองค์กรและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการรับรู้การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของเจ้าหน้าที่ประจำมูลนิธิโครงการหลวง,” การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.
สุชานุช พันธนียะ, “บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู,” วารสารวิทยบริการ, ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2553.
ภารดี อนันต์นาวี, “หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ทางการบริหารการศึกษา,” มนตรี, 2551.
Murray, E.J., Motivation and emotion, Prentice-Hall, 1964.