การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด

Main Article Content

พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การกระทำผิดซ้ำในเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับคดียาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของการกระทำผิดซ้ำในเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับคดียาเสพติด และเพื่อศึกษาหาแนวทางป้องกันและแก้ไขของการกระทำผิดซ้ำในเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับคดียาเสพติด ใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่ทำงานในกระบวนการยุติธรรมและมีประสบการณ์เกี่ยวกับการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด และกลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติด ผลการศึกษาถึงสาเหตุที่เยาวชนกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดนั้นเกิดจากหลายๆ ปัจจัย ซึ่งสามารถอธิบายใน 4 ทฤษฎี ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านในระดับบุคคลคือการควบคุมตนเอง (Self-Control) 2) ปัจจัยทางด้านสังคมคือการควบคุมทางสังคม (Social Control) 3) ความผูกพันทางสังคม (Social Bond) และ 4) การคบหาสมาคมที่แตกต่าง (Differential Association) ในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเยาวชนในคดียาเสพติดนั้นจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบูรณาการกำลังจากองค์กร หน่วยงานหรือสถาบันต่างๆ ในสังคมให้ความร่วมมือกัน โดยแบ่งเป็นระดับการแก้ปัญหาในระดับปัจเจกชน และในระดับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเด็กและเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เสกสิทธิ์ สวรรยาธิปัติ, “การกร¬¬¬¬¬¬ะทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด และชีวิตร่างกาย(คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: การศึกษาวิจัยโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง”, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิยาลัยมหิดล, 2554.

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, “สถิติของเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ จำแนกตามฐานความผิด ปี2554-2558,” ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน, 2558.

ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณีและอุนิสา เลิศโตมรสกุล, “การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในประเทศไทย: แนวทางในการป้องกันและแก้ไขโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา,” งานวิจัยสำนักกิจการยุติธรรม, 2553.

ปกรณ์ มณีปกรณ์, อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา, หจก.เอ็ม.ที.เพรส, 2553.

พรชัย ขันตี, ทฤษฎีอชาญาวิทยา หลักการ งานวิจัยและนโยบายประยุกต์, หจก.สุเนตร์ฟิล์ม, 2553.

กาญจนา คุณารักษ์, “การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติด: กรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน,” วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษาภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.

จิตราภรณ์ จิตรธร, “การกระทำความผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ศึกษาเชิงทฤษฎีการควบคุมตนเอง การควบคุมทางสังคม และการคบหาสมาคมที่แตกต่าง,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.

วันเผด็จ หงษ์ทอง, “ปัญหาการยกพวกตีกันของเด็กนักเรียน,” รายงานวิชาการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม , มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554.