การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมกับ การดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา 2) การดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมกับการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามองค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม เท่ากับ .93 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการดำเนินงานวิชาการ เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษา โดยรวม และรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ( = 4.20, SD.= 0.70) รองลงมา คือ ด้านการให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ( = 4.13, SD.= 0.69) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน ( = 4.00, SD.= 0.68) 2) การดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวม และ รายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ( = 4.25, SD.= 0.61) รองลงมา คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ( = 4.18, SD.= 0.60) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ( = 4.09, SD.= 0.60) และ 3) องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมของสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก กับการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษาในระดับสูง (r = .857) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, “การบริหารงานวิชาการ,” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 2549.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550, 2550.
บุญเติม เจริญ, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551.
ชุลี รุ่งพานิช, “การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2552.
โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์, “การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2553.
วิเชียร ยอดจักร์, “การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1,” สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555.
ภัคจิรา อาลัยญาติ, “การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2556.
วิมล เดชะ, “บริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล,” สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2559.
อำนวย มีสมทรัพย์, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2553.
ชัยวัฒน์ นนท์ยะโส, “รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2558.
สุวรรณา พงษ์ผ่องพูล, “การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กี่ศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2558.
ลำเทียน เผ้าอาจ, “การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด,” งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ, “การทำงานเป็นทีม,” ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2550.
พัชราภรณ์ เย็นมนัส, “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมกับการบริหารงาน ทั่วไปของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2558.
จริยา เห็นงาม, “ความพึงพอใจในการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18,” งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5, แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560 - 2564), ผู้แต่ง, 2560.
สิริรัตน์ แก้วสมบัติ, “ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีมของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.