ฐานทัพอเมริกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
นครราชสีมามีความสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางการปกครองของแอ่งโคราชมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเหมือนประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในอดีตนครราชสีมาเป็นศูนย์กลางในการควบคุมกำลังคน เก็บรวบรวมส่วยและสินค้าโดยเฉพาะของป่าในอีสาน ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สำคัญจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เศรษฐกิจของนครราชสีมาเริ่มเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองมาเป็นเศรษฐกิจเพื่อการค้ามากขึ้นภายหลังสนธิสัญญาบาวริ่ง พ.ศ. 2398 จนถึงการเข้ามาตั้งฐานทัพอเมริกันในยุคสงครามอินโดจีน เกิดโครงการก่อสร้างทางทหาร เช่น โครงการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 2 ทางหลวงหมายเลข 304 และทางหลวงหมายเลข 331 โครงการก่อสร้างฐานทัพบก และฐานทัพอากาศ ส่งผลให้นครราชสีมาเป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมกรุงเทพฯ กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเข้ามาของฐานทัพอเมริกันทำให้เศรษฐกิจของนครราชสีมาเติบโตขึ้นอย่างมาก เกิดธุรกิจสาขาต่าง ๆ เพื่อรองรับความต้องการของทหารอเมริกัน และการเติบโตของทุนท้องถิ่นภายหลังการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแก่รัฐบาล
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “เที่ยวตามทางรถไฟ,” สุทธิสารการพิมพ์, 2509. หน้า 100. (หนังสือ)
เฮอร์เบิร์ท, วาริงตัน สมิธ, แปลโดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์, ห้าปีในสยามเล่ม 1, กรมศิลปากร, 2544. หน้า253.
คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย, คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม เอกสารจากหอหลวง, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534. หน้า 4-5.
เบเคอร์, คริส, “ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย,” มติชน, 2557. หน้า 86. (หนังสือ)
ปาลเลกัวซ์, ฌัง-ปัปติสต์, แปลโดย สันต์ ท โกมลบุตร, เล่าเรื่องกรุงสยาม, ก้าวหน้า, 2520. หน้า 28-29.
เฮอร์เบิร์ท, วาริงตัน สมิธ, แปลโดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์, ห้าปีในสยามเล่ม 1, กรมศิลปากร, 2544. หน้า 252.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, เสด็จไปตรวจมณฑลนครราชสีมาและมณฑลอุดรอีสาน ร.ศ. 125 พ.ศ. 2449, มูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและหม่อมเจ้าจจิตรถนอมดิศกุลพระธิดา, 2538, หน้า 4.
เฮอร์เบิร์ท, วาริงตัน สมิธ, แปลโดย เสาวลักษณ์ กีชานนท์, ห้าปีในสยามเล่ม 1, กรมศิลปากร, 2544. หน้า 252.
สำนักผังเมือง, ผังเมืองนครราชสีมา, สำนักผังเมือง, 2536. หน้า 50.
วิลเลียม จี สกินเนอร์, แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคนอื่นๆ, สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์, มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2525. หน้า 73.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ภูมิปัญญา จังหวัดนครราชสีมา, คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, 2542. หน้า 14.
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, เรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 ว่าด้วยเที่ยวมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลร้อยเอ็ด, 2512. หน้า 3. (หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอก หลวงพิทักษ์พนมเขตร์)
ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประวัติศาสตร์สากล : สหรัฐอเมริกา เล่ม 2 อักษร C-D, ราชบัณฑิตยสถาน, 2543. หน้า 267.
โรเบิร์ต เจ. มัสแคต, เมธี ครองแก้ว และพรายพล คุ้มทรัพย์ บรรณาธิการแปล, สหรัฐอเมริกากับการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในประเทศไทย, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2536. หน้า 21.
แถมสุข นุ่มนนท์, ไทย-อเมริกา: พันธะสงครามเวียดนาม, รวมบทความประวัติศาสตร์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1, 2522, หน้า 97-132.
พวงทอง ภวัครพันธุ์, สงครามเวียดนาม สงครามกับความจริงของรัฐไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 คบไฟ, 2556. หน้า 19.
กรมชลประทาน, (24 พฤษภาคม 2561) ฐานข้อมูลเขื่อนขนาดใหญ่ของกรมชลประทาน, สืบค้นจาก https://water.rid.go.th/damsafety/document/ 2559/Database_largedams.pdf (เว็บไซต์)
ทิพวรรณ หอมกระหลบ, “ไทยกับความช่วยเหลือของต่างประเทศ: การศึกษาเฉพาะกรณี ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2493-2519,” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534. หน้า 157.
หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา, ย้อนรอย 100 ปีโคราชวาณิช, ฟิวเจอร์ เพรส แอนด์ มีเดีย, 2543. หน้า 277.
สำนักงานสถิติแห่งลาติ, สมุดรายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2514. หน้า 15.
พอพันธ์ อุยยานนท์, ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ภูมิภาคของไทย, ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558. หน้า 309.
นิตยสารผู้จัดการ, (20 พฤษภาคม 2561) เผยชีวิตคุณทศพล ตันติวงษ์ กว่าจะเป็นราชาแป้งมันแห่งที่ราบสูง,2543, สืบค้นจากhttps://www.koratstartup. com/interview-kingofcassava/.