แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1

Main Article Content

สิรภพ บุญยืน
ธีระวัฒน์ มอนไธสง

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และ 2) เสนอแนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 128 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ขั้นที่ 2 เสนอแนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพในสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุญวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) สภาพการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา อยู่ในระดับน้อย และ 2) แนวทางการแก้ไขการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา มีดังนี้ 2.1) ด้านการพัฒนาวิชาชีพมีการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานรายบุคคลโดยอิงมาตรฐานวิชาชีพ 2.2) ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบนความเป็นจริง 2.3) ด้านการทำงานร่วมกันผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้การนิเทศภายในเป็นตัวขับเคลื่อน และ 2.4) ด้านโครงสร้างสนับสนุน ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างเครือข่ายเพื่อระดมทรัพยากร การร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนขอประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561, 2554.

ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (28 สิงหาคม 2558). Professional Learning Community (PLC). สืบค้นจาก http://www.kruinter.com/show.

Speck, M., The principalship : Buiding a learning community, Prentice-Hall, 1999.

ดลนภา วงษ์ศิริ, “ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับ ประสิทธิภาพการสอนของครูในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2556.

ธันยพร บุญรักษา, “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2553.

สมบูรณ์ ภู่ระหงษ์, “แนวทางการพัฒนาผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2551.

Senge, P.M., The fifth discipline : The art and practice of the learning community, Doubleday, 1990.

สุพิชชา นิรังสรรค์, “การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมขององค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2550.