กระบวนการเรียนรู้ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านอาชีพ ของชุมชนบ้านหนองขวาง ตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

คคนางค์ ช่อชู

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัญหาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ      2) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนบ้านหนองขวาง และ 3) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านอาชีพของชุมชนบ้านหนองขวาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการประชุม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลพรสำราญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ได้ผลดังนี้ ผลการวิจัย 1) สถานการณ์และปัญหาผู้สูงอายุ พบว่า ชุมชนบ้านหนองขวางมีผู้สูงอายุ ร้อยละ 13.98  ของประชากร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น มีภาระหนี้สินค่อนข้างมาก (ร้อยละ 76) ปัญหาสุขภาพ และวิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปทำให้ภูมิปัญญาเก่าเริ่มหาย ที่ยังคงอยู่คือการทอผ้า จักสาน เกษตรผสมผสาน และยังมีผู้สูงอายุบางส่วนรู้สึกหดหู่ เหงา เนื่องจากไม่มีความมั่นคงในชีวิต และมีความต้องการมีอาชีพที่มีเหมาะสม 2) กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนมีอยู่ 4 ระดับ คือ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับครอบครัว การเรียนรู้ระดับชุมชน และระดับเครือข่าย 3) การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านอาชีพ เริ่มจากสร้างแรงบันดาลใจจากคนต้นแบบ การรวมกลุ่มด้านอาชีพ ใช้วัดเป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันด้วยกิจกรรมทางศาสนาเชื่อมคนหลายวัยทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ การศึกษาดูงานด้านอาชีพชุมชนอื่น นอกจากนี้มีการยกระดับความรู้ในระดับปัจเจกให้เป็นฐานเรียนรู้ชุมชนจำนวน 3 ฐาน ได้แก่ ฐานเรียนรู้เกษตรประณีต  1 ไร่ ฐานเรียนรู้การทำเกษตรในบ้านผู้สูงอายุ  และฐานเรียนรู้จักสาน เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักศาลรัฐธรรมนูญ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี, 2550.

2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโนนย่านาง, ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุ, 2559.

3. บุญชม ศรีสะอาด, การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 6, สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น, 2543.

4. Best,W. John, Research in Education, 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey, 1997.

5. สีลาภรณ์ บัวสาย, พลังท้องถิ่นบทสังเคราะห์งานวิจัยด้านชุมชน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547.

6. สัมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ, พลังชุมชนกับมหาวิทยาลัยความท้าทายและคำตอบของโลกอนาคต, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.

7. ชัยฤทธิ์ โพธิสุวรรณ, การศึกษาผู้ใหญ่ปรัชญาตะวันตกและการปฏิบัติ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2544.

8. ประเวศ วะสี, พลังขับเคลื่อนการจัดการตนเองบนแผ่นดินไทย, สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2557.

9. นพวรรณ คาดพันโน และคณะ, แนวทางการเสริมสร้างสุขภาวะและการควบคุมโรคติดต่อโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดยโสธร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2555.

10. ศักดิ์พงศ์ หอมหวน, การศึกษาท้องถิ่นเชิงพหุลักษณ์, โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2557.