การประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring กรณีศึกษา : โรงเรียนวัดช่างเหล็ก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายดังนี้ 1) เพื่อประเมินความรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอนเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน 2) เพื่อประเมินสมรรถนะของผู้บริหารด้านการเป็นผู้นิเทศและและการให้คำปรึกษา และครูผู้สอนด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และด้านการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และ3) เพื่อประเมินความคาดหวังของผู้บริหารและความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 11 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 3,415 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน 2) แบบประเมินสมรรถนะของผู้บริหารด้านการเป็นผู้นิเทศและการให้คำปรึกษา และแบบประเมินสมรรถนะของครูผู้สอนด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และด้านการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน และ3) แบบประเมินความคาดหวังและความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความรู้ของผู้บริหารและครูผู้สอนหลังการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 26.40, S.D. = 1.14 และก่อนการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 20.80, S.D. = 1.34 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการประเมินสมรรถนะของผู้บริหารด้านการเป็นผู้นิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  gif.latex?\bar{x} = 4.55, S.D = 0.52 และด้านการเป็นผู้ให้คำปรึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 4.39, S.D = 0.52 ส่วนครูผู้สอนมีสมรรถนะด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 2.95, S.D = 0.13 และด้านการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 4.20, S.D = 0.62 และ3) ผลการประเมินความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน พบว่า ผู้บริหารมีความคาดหวัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ gif.latex?\bar{x} = 4.39, S.D = 0.57 และครูผู้สอนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับgif.latex?\bar{x}   = 4.31, S.D = 0.59


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560- 2579, กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จํากัด. 2559.

2. คณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ,กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงาน, ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด, กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.

3. กฤติยา วงศ์ก้อม, “รูปแบบการพัฒนาครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิดการ ประเมินแบบเสริมพลังอำนาจที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

4. มัลลิกา คงพันธุ์, “การประเมินโครงการรณรงค์ส่งเสริมการอ่านในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2548.

5. ธรรมพร แข็งกสิการ, “การประเมินโครงการรักการอ่าน สานสู่ฝัน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 2549.

6. ไพศาล ทับพุ่ม, “การประเมินโครงการส่งเสริมการอ่านในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 2549.

7. พรรณพิศ รัตนตรัยวงศ์, การประเมินโครงการสรางสรรค์สิ่งแวดล้อม รักษ์โลกและอนุรักษ์ พลังงานโรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง, ร้อยเอ็ด, 2553.