การประยุกต์ใช้หลักสันโดษและหลักสัปปุริสธรรมในการซื้อและการใช้ โทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กาวี ศรีรัตน์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟน4) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษา 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนของนักศึกษา และ 6) เพื่อเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Krejcie และ Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า       ไคสแควร์ โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P=0.05 ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟน โดยรวมทั้ง 3 ด้านในอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านยถาสารุปปสันโดษ รองลงมาคือด้านยถาพลสันโดษ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านยถาลาภสันโดษ ส่วนการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและความรู้ของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้หลักสันโดษ แต่ชั้นปีและรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้หลักสันโดษ นักศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสันโดษในการซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟน ดังนี้ 1) ควรซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟนตามภาวะและฐานะของตนเอง 2) ควรพอใจในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่ตนเองมีอยู่แล้ว 3) ควรซื้อโทรศัพท์สมาร์ตโฟนโดยมุ่งประโยชน์เป็นหลัก และผลการวิจัย ยังพบว่า นักศึกษามีการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน โดยรวมทั้ง 7 ด้านในอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านธัมมัญญุตา รองลงมาคือด้านปริสัญญุตา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านอัตตัญญุตา ส่วนการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ รายได้ต่อเดือนและความรู้ของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม แต่ชั้นปีมีความสัมพันธ์กับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม นักศึกษาได้เสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน ดังนี้ 1) ควรมีมารยาทในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน 2) ควรมีวินัยในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน 3) ควรรู้กาลเทศะในการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ธีรวุฒิ เอกะกุล, ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2543.

2. พระสาธิต จิตปญฺโญ, “การปฏิบัติตามหลักสันโดษของชาวบ้าน บ้านหนองข่า ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี,” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่, 2553.

3. สันติ อุนจะนำ, “การนำหลักความสันโดษไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช ปีการศึกษา 2548,” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548.

4. นฤมล แป้นอินทร์, “การศึกษาวิเคราะห์ความคิดเห็นตามหลักสันโดษของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนที่ครูไม่ครบชั้นเรียน,” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

5. วิทูล ทาชา, “การนำหลักอิทธิบาท 4 มาใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ปีการศึกษา 2551,” รายงานหารวิจัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย, 2551.

6. เพ็ญนภา พิลึก, “การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการบริหาร สถานศึกษา: กรณีศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42,” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต วิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

7. วัชรา คำทะเนตร, “การปฏิบัติงานตามหลักสัปปุริสธรรมของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 8,” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

8. พระมหาสุวิทย์ ปัญญาดิษฐ์, “การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 2556.

9. พระจำรัส ฐิตธมฺโม, “การประยุกต์ใช้หลัก สัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารจัดการชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร,” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

10. พงศ์จิรา จินดาเรือง, “การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารตามการรับรู้ของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง,” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554