ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการและการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2

Main Article Content

อัจฉรา ภูมิพานิช
ภัทร์ธมณฑน์ เรืองวิทยาวุฒิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 2) ศึกษาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการและการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครูของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน 251 คน ผู้วิจัยหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ  Krejcie & Morgan หลังจากนั้นผู้วิจัยได้สุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยแบ่งสัดส่วนแต่ละโรงเรียน เครื่องมือ             ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Person’s Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติตามแผน ด้านการดำเนินการ ให้เหมาะสม ด้านการวางแผน และด้านการตรวจสอบ 2) การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน และ3) การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวก  จึงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยต้องมีระบบการดำเนินงานที่ดี มีการวางแผนการบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2552). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554). กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม จำกัด.

กิตติศักดิ์ ศิวินา. (2558). รูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(1), 108-124.

ปวีณา รินไธสง. (2554). การบริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคามตามหลักการบริหารจัดการที่ดี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มงคล แก้วดี. (2554). การพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนตำบล สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนิณทร เขตบุญพร้อม. (2557). แนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ภัทร์ธมณฑน์ เรืองวิทยาวุฒิ. (2551) รูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษาที่เหมาะสม สำหรับใช้แก้ไขพฤติกรรมทางเพศที่เป็นปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, 5(3), 95-102.

สุจิรา มีทอง. (2560). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสในเครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

อภิสิทธิ รอดบําเรอ. (2559). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 10(2), 222-223.

เอกชัย ภูผา. (2559). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนสตรีระนอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.