ราชาธิราช : จากพระราชพงศาวดารสู่นวนิยาย

Main Article Content

มาโนช ดินลานสกูล
วินัย สุกใส
ธีรยุทธ์ เกณบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ราชาธิราช : จากพระราชพงศาวดารสู่นวนิยาย(Novel) นี้  ต้องการศึกษาเรื่องราชาธิราชในบริบทสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศึกษาลักษณะนวนิยายของเรื่องราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่เป็นฉบับพิมพ์ แล้วเสนอผลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่ามีการดัดแปลงเรื่องราชาธิราชด้วยกลวิธีต่างๆ ทั้งในส่วนของต้นฉบับที่เป็นภาษามอญและฉบับภาษาไทย ดังนี้  เรื่องราชาธิราชเป็นเรื่องของกษัตริย์มอญตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้ารั่วจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์  เป็นเรื่องจริงที่มีหลักฐานแน่ชัด  แต่มีการขยายความมากขึ้นในพงศาวดารบางฉบับ  จนกลายเป็นเรื่อง Razadarit  Ayedawpon ของพระยาทะละ ซึ่งจัดเป็นวรรณกรรมสดุดี  และนิทานธรรมเจดีย์กถา  ซึ่งเป็นเรื่องเล่ามากกว่าพงศาวดาร  ส่วนเรื่องราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) นั้น มีรายละเอียดมากกว่าราชาธิราชฉบับใด ๆ ในภาษามอญและพม่า ได้มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของเรื่องให้มีลักษณะใกล้เคียงกับนวนิยายอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการปรับลำดับเหตุการณ์ให้เป็นโครงเรื่องแบบนวนิยาย เพื่อเสนอแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับราชาเหนือราชาทั้งปวงสอดคล้องกับสังคมและการเมืองไทยในสมัยนั้น  ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วย  ซึ่งน่าจะรับอิทธิพลจากนิยายอิงพงศาวดารจีนที่นิยมกันในขณะนั้นมากกว่าอิทธิพลจากตะวันตก ราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับพิมพ์ จึงมีลักษณะเป็นบันเทิงคดีหรือเรื่องแต่ง     ทั้งแก่นเรื่อง โครงเรื่องและตัวละคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1 สรณัฐ ไตลังคะ,“ประวัติศาสตร์นิพนธ์กับโฉมหน้าบันเทิงคดีร้อยแก้วยุคแรกในสมัยรัตนโกสินทร์,” วารสารภาษาและหนังสือ, ปีที่ 37, ฉบับที่ 1, มกราคม- ธันวาคม หน้า 31-56, 2549.

2 Lu Hsun. A Brief History of Chinese Fiction. Peking: Foreign Languages Press, 1982.

3 ถาวร สิกขโกศล, “สามก๊ก : จากวรรณคดีเอกของจีนมาเป็นวรรณคดีเอกของไทย,” จีนศึกษา, ปีที่ 1, ฉบับที่, 1 เมษายน. หน้า 117-135, 2549.

4 กนกพร นุ่มทอง, นิยายกับธุรกิจการพิมพ์สมัยราชวงศ์หมิง, ในเหตุเกิดในราชวงศ์หมิง,ชวนอ่าน, 2553.

5 บุญเหลือ เทพยสุวรรณ, ม.ล. ,แนะแนวทางอ่านนวนิยาย,แว่นวรรณกรรม, หน้า 134–209, สร้างสรรค์วิชาการ, 2529.

6 บุษบา ตระกูลสัจจาวัตร, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่องราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.

7 กุสุมา รักษมณี, นาฏลักษณ์ในราชาธิราช, ภาษาและหนังสือ, ปีที่ 28, หน้า 16–24, 2540.

8 นิยะดา เหล่าสุนทร, ราชาธิราช : วรรณกรรมรัชกาล ที่ 1 หรือ 4, ในพินิจวรรณคดี, หน้า 45-46, 2544.