ศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

กานดา เต๊ะขันหมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดอ่างทอง ดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจเป็นหลัก และเสริมด้วยการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานและกรรมการบริหารวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์สำคัญของจังหวัดอ่างทอง 4 แห่ง รวม 69 คน การวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามที่ได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพสูง การประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาภาคสนาม ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย (ฐานนิยม ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสร้างข้อสรุปตามกรอบการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านในจังหวัดอ่างทองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และอยู่ในระดับมากทุกด้าน ทั้ง 1) ความสามารถในการบริหารจัดการของผู้นำ   2) การมีส่วนร่วมของสมาชิก 3) ความสามารถในการผลิต 4) ความสามารถด้านการตลาด 5) ความสามารถด้านการเงิน และ 6) ความสามารถในการสร้างเอกลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.), รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2559.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลางเขต 7.(2551). (10 มีนาคม 2560). สืบค้นจาก http://www.tat7.com/fish-festivel1.html

สำนักงานจังหวัดอ่างทอง, แผนพัฒนาจังหวัดอ่างทอง พ.ศ.2557-2560.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอ่างทอง. รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอ่างทอง พ.ศ.2554.

เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (6 ตุลาคม 2560). ธุรกิจชุมชน : ก้าวต่อไปของการพัฒนา. สืบค้นจากhttp://202.28.92.149/journal8_2_43/56.html

ทองใบ สุดชารี, ทฤษฎีองค์การ, พิมพ์ครั้งที่ 3,สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2543.

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น, กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปากไพรสามัคคี. (17 มิถุนายน 2560). การพัฒนาองค์กรและความสามารถในการบริหาร. สืบค้นจาก http://www.doae.go.th.

ธงชัย สันติวงษ์, ทฤษฎีองค์การและการออกแบบ, ไทยวัฒนาพาณิช, 2541.

วิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชน จังหวัดอ่างทอง, 2554.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร, การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน, พิมพ์ครั้งที่ 3, สถาบันชุมชนทักษิณพัฒนา, 2543.

ฑิตยา สุวรรณชฏ, ธำรง อุดมไพจิตรกุล, แสง สงวนเรือง, รัญจวน ประวัติเมือง, และจักษ์ พันธ์ชูเพชร, การจัดการและการวางแผนธุรกิจ. คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

ชื่นจิตร แจ้งเจนกิจ, การบริหารลูกค้าสัมพันธ์. ทิปปิ้ง พอยท์, 2544.

พนิตสุภา ธรรมประมวล, การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลืองบ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี: ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 2554.

อภิสิทธิ์ พรมชัย และศุภลักษณ์ สุวรรณะชฎ.“ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกาน,” วารสารการบริหารท้องถิ่น. ปีที่4, ฉบับที่ 2, หน้า 16-29.

อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม และคณะ, สถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด โอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษาเครื่องจักสานจังหวัดนครราชสีมาและอ่างทอง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.

ใจมานัส พลอยดี, “ปัจจัยทีมีผลต่อความสําเร็จ และความล้มเหลวของธุรกิจชุมชน เปรียบเทียบระหว่างภาพรวมและภาพย่อย (อําเภอเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธรและอําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช) ,” วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร มหาบัณทิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540.