การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ประกอบด้วยปัญหาด้านครู ด้านนักเรียน ด้านเนื้อหา ด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผล เก็บข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มประชากรของโรงเรียนจำนวน 6 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 241 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน
ผลการวิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 241 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน 190 คน คิดเป็นร้อยละ 78.8 เพศชาย จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 21.2 และพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนมากที่สุด จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 52.7 โรงเรียนที่ผู้ตอบแบบสอบถามศึกษาอยู่คือโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์มีจำนวนมากที่สุด จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 25.7 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เรียนวิชาภาษาจีนกับทั้งอาจารย์ชาวไทยและอาจารย์ชาวจีนจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 68.5
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายศิลป์- ภาษาจีน เกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาพบว่า ปัญหาด้านครูนักเรียนเห็นว่าครูชาวจีนที่สอนวิชาภาษาจีนขาดความสามารถในการใช้ภาษาไทยสื่อสารกับนักเรียน ( = 2.23) ข้อเสนอแนะด้านครูคือสถานศึกษาควรสร้างให้ครูที่สอนวิชาภาษาจีนเกิดความรัก ความเสียสละ ไม่ละทิ้งหน้าที่และตั้งใจสอน (ร้อยละ77.2) ปัญหาด้านนักเรียนพบว่านักเรียนมีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจด้านภาษาจีน ( = 2.70) ข้อเสนอแนะด้านนักเรียนคือครูควรจัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบในการเรียนรู้ภาษาจีนนอกห้องเรียน (ร้อยละ 86.3) ปัญหาด้านเนื้อหานักเรียนเห็นว่าเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนไม่ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ( = 2.66) ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาคือครูควรเลือกหรือจัดทำเนื้อหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนให้ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร (ร้อยละ 83.0) ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้นักเรียนเห็นว่าขาดแคลนโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาจีนด้วยตนเอง ( = 2.47) ข้อเสนอแนะสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้คือสถานศึกษาควรสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องเรียนภาษาจีน / ห้องปฏิบัติการภาษาจีนอย่างเพียงพอ (ร้อยละ 83.4) ปัญหาด้านการวัดและประเมินผลนักเรียนเห็นว่าขาดการชี้แจงในเรื่องวิธีการในการวัดและประเมินผลวิชาภาษาจีนอย่างชัดเจน ( = 2.47) ข้อเสนอแนะด้านการวัดและประเมินผลครูควรนำผลการวัดและประเมินผลมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป (ร้อยละ 82.6)
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
รัตนพล,“วิวัฒนาการการควบคุมโรงเรียนจีน, ”วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.
จินตนา ภูธนานุสรณ, “ปญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนสอนภาษาจีน สังกัดสํานักบริหารงาน คณะกรรมการสงเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กรุงเทพมหานคร,” วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี, 2552.
Liu Xun, “Introduction to Teaching Chinese as Foreign Language,” Beijing Language University Press, 2012.
Sun Lei, “สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับช่วงชั้นที่3-4 ในจังหวัดนครปฐม,”วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.
เฝิง บินบิน, “ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในประเทศไทย มหาวิทยาลัยบูรพา,”วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.
Xiao Xiqiang and Zhou Wenhua, “Research Overview of Second-language Acquisition , Beijing World Book Press company , 2012.