การศึกษาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์ โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง บั้งไฟพญานาค

Main Article Content

ภูษณิศา สุวรรณศิลป์
ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 - 5 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตภาคกลาง จำนวน 85 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ใช้แบบวัดเป็นคำถามปลายเปิด ประกอบด้วยข้อความแสดงความคิดเห็นที่เป็นประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ประเด็น เรื่อง บั้งไฟพญานาค ประกอบด้วยคำถาม 4 ข้อ ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ 5 องค์ประกอบ คือ การแสดงข้อกล่าวอ้าง การให้เหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง การแสดงหลักฐานสนับสนุนเหตุผล การแสดงข้อกล่าวอ้างที่ต่างออกไป และการแสดงการโต้แย้งกลับ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาครูมีทักษะการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับควรปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.48 (S.D. = 0.48)  โดยองค์ประกอบการแสดงข้อกล่าวอ้างและการให้เหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.04 อยู่ในระดับสูงสุดคือพอใช้ ส่วนองค์ประกอบอื่น ได้แก่ การแสดงข้อกล่าวอ้างที่ต่างออกไป ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.32 การแสดงหลักฐานสนับสนุนเหตุผล ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.29 และการแสดงการโต้แย้งกลับ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.27 อยู่ในระดับควรปรับปรุง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579, กระทรวงศึกษาธิการ, 2560.

2.หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2557.

3.ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ, รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

4.F. Chan-Choong and G. D. Esther, “Assessing students' arguments made in socio-scientific contexts: The considerations of structural complexity and the depth of content Knowledge,” Procedia Social and Behavioral Sciences, pp. 1120-1127, 2015.

5. G. A. Espeja and C. D. Lagaron, “Socio-scientific issues (SSI) in initial training of primary school teachers: Pre-service teachers’ conceptualization of SSI and appreciation of the value of teaching SSI,” Proceeding of International Conference on University Teaching and Innovation, Spain, July. 2-4, 2014, pp. 80-88.

6.S. P. Cetin, N. Dogan and A. Y. Kutluca, “The Quality of Pre-service Science Teachers’ Argumentation: Influence of Content Knowledge,” Journal Science Teacher Education, Vol. 25, pp. 309-331, 2014.

7.ประภา สมสุข, “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ที่ใช้การโต้แย้งเชิงวิทยาศาสตร์แบบ 2I3C สําหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย,” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 2558.

8. V. Sampson and M. R. Blanchard, “Science Teachers and Scientific Argumentation: Trends in Views and Practice,” Journal of Research in Science Teaching, Vol. 49, No. 9, pp. 1122 – 1148, 2012. (วารสาร)

9.J. Osborne, A. MacPherson, A. Patterson and E. Szu, “Introduction of argumentation,” In M. S. Khine, (Ed.), Perspectives on scientific argumentation: Theory, Practice and research, 2012.

10.S. Lin and J. J. Mintzes, “Learning argumentation skills through instruction in socioscientific issues: The effect of ability level,” International Journal of Science and Mathematics Education, Vol. 8, No. 6, pp. 993-1017, 2010.

11.ศุภรักษ์ สายโรจน์, “การเปรียบเทียบความสามารถในการโต้แย้งและการคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ที่มีความเข้าใจธรรมชาติวิทยาศาสตร์ต่างกันที่เรียนประเด็นปัญหาทางสังคมเกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบผสมผสานกับรูปแบบการเรียนแบบปกติ,” วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555.

12.เอกภูมิ จันทรขันตี, “การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, หน้า 217-232, 2559.

13.A. R. Cavagnetto, “Argument to foster scientific literacy: a review of argument interventions in K-12 science contexts,” Review of Education Research, Vol. 80, No. 3, pp. 336-371, 2010.

14.N. Christenson, N. Gericke and S. C. Rundgren, “Science and language teachers’ assessment of upper secondary students’ socioscientific argumentation,” International Journal of Science and Math Education, May. 2015.

15.J. C. Besley, A. Dudo and M. Storksdieck, “Scientists’ views about communication training,” Journal of Research in Science Teaching, Vol. 52, No. 2, pp. 199-220, 2015.

16.K. Iordanou and C. Constantinou, “Developing pre-service teachers' evidence-based argumentation skills on socio-scientific issues,” Learning and Instruction, Vol. 34, pp. 42-57, 2014.

17.M. Evagorou and J. Osborne, “Exploring young students' collaborative argumentation within a socioscientific issue,” Journal of Research in Science Teaching, Vol. 50, No. 2, pp. 209-237, 2013.


18.ณัฏฐ์พธู เสริมสุข, ศศิเทพ ปิติพรเทพิน และ อุทัยวรรณ โกวิทวที, “การพัฒนาทักษะการโต้แย้งของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หัวข้อ ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์,” การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, กรุงเทพ, เมษายน 2559, หน้า 1348-1355.


19.S. Simon, S. Erduran and J. Osborne, “Enhancing the quality of argumentationin school science,” Proceeding of the Annual Meeting of the National Association for Research in Science Teaching, USA, April. 7-10, 2002.

20.K. McNeill and D. Pimentel, “Scientific discourse in three urban classrooms: the role of the teacher in engaging high school students in argumentation,” Science Education, Vol. 94, No. 2, pp. 203–229, 2010.

21.M. Aydeniz and Z. Ozdilek, “Assessing and enhancing pre-service science teachers’ self-efficacy to teach science through argumentation: challenges and possible solutions,” International Journal of Sci and Math Educ, Vol. 14, pp. 1255–1273, 2016.