การจัดการทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักในเขตเทศบาลเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป ลาว

Main Article Content

สิทธิวิกร เพ็งสวัสดิ์
นันทพันธ์ จิระเดชประไพ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักในเขตเทศบาลเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป ลาวและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการเงินและการจัดการทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักในเขตเทศบาลเมืองหลวงพระบาง จำนวน 4 ด้าน ดังนี้ คือ ด้านการจัดหาเงินทุน ด้านการวางแผนทางการเงิน ด้านการบริหารสภาพคล่อง และด้านการควบคุมทางการเงิน การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางของเครจซีและมอร์แกน มีจำนวน 169 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยgif.latex?\bar{x} คือแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ท (Likert Scale) ประเมินค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที (t-test) ค่าสถิติเอฟ (F-test), Two-way ANOVA และสถิติการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) เพื่อทดสอบสมมติฐานโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า


               ผลการวิจัย พบว่า การจัดการทางการเงินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ คือ ด้านการบริหารสภาพคล่อง ( gif.latex?\bar{x} = 3.90) ด้านการวางแผนการเงิน ( gif.latex?\bar{x}= 3.78) ด้านการควบคุมทางการเงิน ( gif.latex?\bar{x}= 3.74) และด้านการจัดหาเงินทุน (gif.latex?\bar{x} = 3.70) ซึ่งอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบ พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการฯ มีความสามารถทางการเงิน ด้านความชำนาญทางการเงินแตกต่างกัน ส่วนเพศและอายุที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักฯ มีความสามารถทางการเงินไม่แตกต่างกัน ผลจากการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางพบว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับการศึกษากับประเภทธุรกิจมีอิทธิพลต่อการจัดการทางการเงินด้านการควบคุมทางการเงิน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์กับประเภทธุรกิจมีอิทธิพลต่อการจัดการทางการเงินด้านการวางแผนทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักในเขตเทศบาลเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว และผลการทดสอบสมการถดถอยเชิงพหุ พบว่า ความสามารถทางการเงิน ด้านความรับผิดชอบทางการเงินมีความสัมพันธ์กับการจัดการทางการเงิน (β=0.434) อยู่ในระดับปานกลางและความสามารถทางการเงินมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการจัดการทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักฯ โดยภาพรวม อยู่ในระดับสูง (r = .765*)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ คือ ด้านการควบคุมทางการเงิน (r = 0.702*) ด้านการวางแผนทางการเงิน (r = 0.699*) ด้านการบริหารสภาพคล่อง (r = 0.650*) ซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง และด้านการจัดหาเงินทุน (r = 556*) มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่กำหนด 0.05  ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารและบ้านพักในเขตเทศบาลเมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง สปป. ลาว ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมทางการเงิน การวางแผนทางการเงินและการบริหารสภาพคล่อง ด้านการจัดหาเงินทุนโดยใช้เงินทุนต้นทุนต่ำและมีวินัยทางการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ในการบริหารทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.นุชษรา พึ่งวิริยะ, “การจัดการเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนในจังหวัดสงขลา,” กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2559.

2.ณหทัย วิไลวณิชวงศ์, “ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืมกับการตกแต่งกำไร,” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.

3.เอื้องฟ้า คูณแสง, “ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพงบการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล,” การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558.

4.ลำใย มากเจริญ ทิพสุดา คมวงศ์วิวัฒน์และสโรชิน แผ้วพลสง, “ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครปฐม,”คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2560.

5.สุรชัย ภัทรบรรเจิด, “การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ SME ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก,” วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 9, ฉบับที่1, มกราคม-มิถุนายน, 2559.

6. ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์, “การใช้ประโยชน์จากงบการเงินของผู้ประกอบการ SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1, มกราคม-มิถุนายน, 2557