ปัจจัยส่วนบุคคลกับวิธีการบริหารความขัดแย้ง : กรณีศึกษาบุคลากรในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง

Main Article Content

ชูเกียรติ จากใจชน
จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์
สุวัลลี แย้มศาสตร์
ปณิธาน อริยะมงคล

บทคัดย่อ

               วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) ศึกษาระดับและลำดับความสำคัญของแต่ละวิธีการบริหารความขัดแย้งของบุคลากร  2) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องเพศและรุ่นของคนกับวิธีการบริหารความขัดแย้งของบุคคล  และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  ได้แก่  อายุ  การศึกษา  รายได้  และประสบการณ์ในการทำงานกับวิธีการบริหารความขัดแย้งของบุคคลในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง  จำนวน 40 คน  ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบวัดวิธีการบริหารความขัดแย้งที่คณะผู้วิจัยปรับและพัฒนาจากแบบวัดวิธีการบริหารความขัดแย้ง ของ Thomas-Kilman ที่มีชื่อว่า Thomas-Kilman  Instrument (TKI) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product-moment ผลการวิจัย พบว่า 1) เพศของบุคลากรที่แตกต่างกัน มีวิธีการบริหารความขัดแย้งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (เนื่องจากค่า p >.05)  2) รุ่นของคนที่แตกต่างกัน มีวิธีการบริหารความขัดแย้งแตกต่างกัน โดยบุคลากร Generation Y มีวิธีการบริหารความขัดแย้ง  ด้านการปรองดองหรือยอมให้ (t = -2.45, p < .05) และด้านการหลีกเลี่ยง (t = -2.89, p < .05) สูงกว่า บุคลากร Generation X อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ในขณะที่บุคลากรใน Generation X มีวิธีการบริหารความขัดแย้งด้านการเอาชนะ (t = 3.98, p < .05) สูงกว่าบุคลากรใน Generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  และ 3) ปัจจัยส่วนบุคคล  ได้แก่ อายุ  การศึกษา รายได้  และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับวิธีการบริหารความขัดแย้งของบุคลากร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1.ธีรวุฒิ เอกะกุล.ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. 2543.

2.Kilmann, R.H., Thomas, K.W. Developing a forced choice measure of conflict handling behavior: the mode instrument”, Education and Psychological Measurement, Vol. 37, 1972: 309-325.

3.Mills, J., & Chusmir, L. H. Managerial conflict resolution styles: Work and home differences. In:Goldsmith, E. (Ed.),Work and family: Theory, research, and applications (special issue). Journal of Social Behavior and Personality. 3,(4), 1988 : 303-316.

4.Lindeman, M., Harakka, T., & Keltikangas-Järvinen, L. Age and gender differences in adolescents’ reaction to conflict situations: Aggression, prosociality, and withdrawal-.Journal of Youth and Adolescence. 26,(3), 1977: 339-351.

5.Holmes, H., & Tangtongtavy, S. Working with Thais: A guide to managing in Thailand 4thed. Bangkok: White Lotus.1997.

6.Ting-Toomey, S. Culture, facemaintenance, and styles of handling interpersonal conflict: A study in five cultures.The International Journal of Conflict Management. 2 (24),1991: 275-296.

7.Pruitt,D,G.,& Carnevale, P.j Negotiation and social conflict. Belmont, CA: Thomson Brooks/Cole.