การศึกษาอุปลักษณ์ในการบัญญัติศัพท์ใหม่ของสื่อสิ่งพิมพ์ ในแวดวงการบันเทิงไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์ในการบัญญัติศัพท์ใหม่ ของสื่อสิ่งพิมพ์ในแวดวงบันเทิงของไทย ซึ่งปรากฏในสื่อหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร โดยใช้วิธีการเปรียบเทียบทางความหมายตรงและความหมายหมายเปรียบเทียบ รวมทั้ง วิเคราะห์ทางความหมายด้วยวิธีการแยกหน่วยประกอบทางความหมายของคำ (Componential analysis) การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยได้คัดเลือกกลุ่มคำบัญญัติศัพท์ใหม่แวดวงบันเทิง จำนวน 17 กลุ่มคำ ผลการศึกษา พบว่า มิติทางความหมายตรงสามารถสรุปอรรถลักษณ์ทางความหมาย ได้ 7 กลุ่ม ได้แก่ ความหมายเกี่ยวเนื่องวงการเพลง ความหมายเกี่ยวเนื่องวงการแสดงและการละคร ความหมายเกี่ยวเนื่องวงการภาพยนตร์ ความหมายเกี่ยวเนื่องที่เน้นการกระทำ ความหมายเกี่ยวเนื่องที่ใช้การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ความหมายเกี่ยวเนื่องกับสิ่งของและตัวบุคคลและ ความหมายเกี่ยวเนื่องกับอาหาร ส่วนความหมายเปรียบเทียบหรืออุปลักษณ์ สามารถแบ่งตามประเภท อรรถลักษณ์ทางความหมาย ได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ อุปลักษณ์สิ่งมีชีวิต อุปลักษณ์สิ่งไม่มีชีวิต และอุปลักษณ์การกระทำ
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2.“คมลัมน์บันเทิง”, นิตยสารทีวีพูล., ปีที่ 27,ฉบับที่ 1384-1387 (ธันวาคม), หน้า 1, 2559.
3.ดียู ศรีนราวัฒน์, “ลักษณะภาษาคนดังและมุมมองด้านเอกลักษณ์กลุ่ม,” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์, มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.
4.“บันเทิงไทยรัฐ”, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ., (31 ธันวาคม), หน้า 5, 2560.
5.“บันเทิงไทยรัฐ”, หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ.,(26-27 มิถุนายน), หน้า 5, 2561.
6.วชิรา ชุณหศรี, “การศึกษาสำนวนที่ใช้ในวงการบันเทิงจากหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544,”วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
7.วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์, รายงานวิจัยลักษณะภาษาไทยที่ใช้ผ่านสื่อมวลชนโทรทัศน์. ทุนอุดหนุนประเภทกำหนดเรื่องจากสำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2537.
8.Finch. G, How to study linguistics, 2nd ed. New York: Palgrave Macmillan, 2003.
9.Jackson. H, Words and Their Meaning,London: Longman, 1988.
10.Lakoff. G, and Johnson. M, MetaphorWe Live By. London: Chicago, 1989.