ผลการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเอง ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

สรารัตน์ ฝากไธสง
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร

บทคัดย่อ

               การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่นบทบาทสมมติ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ จำนวน 8 สัปดาห์ และแบบสังเกตพฤติกรรมการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการประเมินตนเอง ด้านการมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และด้านการเข้าใจยอมรับความแตกต่างของตนเองและผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติมีพฤติกรรมการตระหนักรู้ในตนเองสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม โดยพฤติกรรมการตระหนักรู้ในตนเองที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ ด้านการเข้าใจยอมรับความแตกต่างของตนเองและผู้อื่น ด้านการมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และด้านที่น้อยที่สุดคือการประเมินตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization “Partner in Life Skills Education,” Department of mental health Social change and mental health cluster, Geneva, pp.4 - 6, 1999.

Ministry of Education Republic of Singapore “Social and Emotional Development Guide,” Nurturing Early Learners A Curriculum for Kindergartens in Singapore, pp. 6, 2013.

Aarohi Life Education.Open Learning Community. (20 สิงหาคม 2561) .Developing Self-awareness. สืบค้นจาก https://www. aarohilife.org/home/sites/default/files/Developing-Self-Awareness.pdf

Síolta The National Quality Framework for Early Childhood Education “Research Digest Standard 14 Identity and Belonging and Play” Research Digest síolta Play, pp. 2-9, 2006.

Thomas T. and Killick S. 2007. (18 สิงหาคม 2561). Telling Tales – Storytelling as Emotional Literacy. สืบค้นจากhttp:// davidengland.co.uk/storytelling/storytellingwithchildren

Cakici. Y & Bayir. E “Developing children’s views of the nature of science through role play” International Journal of Science Education. 2012.

เกษม ชูสอน “ผลของนวัตกรรมการให้ข้อมูลร่วมกับการเล่นบทบาทสมมติ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เริ่มได้รับยาเคมีบำบัด,” มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

Dunn,J “Early Childhood Australia : Four steps to creating literacyrich dramatic play environments,” Every Child, Vol.11 No. 2, pp.14-15, 2005.

Karen and Bill “Teaching engineering using Dramatic Play creating a socio-dramatic plays area,” EngineeringLens, pp. 1-7, 2010.

Morin, A.“Self-Awareness Part 1: Definition, Measures, Effects, Functions, and Antecedents. Social and Personality Psychology Compass. Mount Royal University, pp. 1-5, 2011.

ศุภฎี ชิกว้าง “การทดลองใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี” สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, หน้า 16-17, 2552.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ “ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (ฉบับปรับปรุง), พิมพ์ครั้งที่ 6 แอคทีฟ พริ้นท์, หน้า 148 – 149, 2556.

ปณิดา ทองมูล. “ผลการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่มีต่อความรู้เรื่องภาวะโลกร้อนของเด็กปฐมวัย,” ภาควิชาการศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , หน้า 20, 2555.