การศึกษาความตระหนักของผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐต่อการป้องกัน การตรวจพบ และการรายงานการทุจริต กรณีศึกษา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

Main Article Content

เอกชัย ดวงไฟ

บทคัดย่อ

การศึกษาความตระหนักและการรับรู้ด้านการทุจริตของผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐ เป็นบันไดขั้นพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐปฏิบัติงานตรวจสอบได้อย่างมีคุณภาพ บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักของผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐที่มีต่อการป้องกัน การตรวจพบและการรายงานการทุจริต และศึกษาความแตกต่างของความตระหนักของผู้ตรวจสอบบัญชีภาครัฐแต่ละระดับ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed method) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์จากผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีภาครัฐของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีภาครัฐนั้นมีความตระหนักต่อการป้องกัน การตรวจพบและการรายงานการทุจริตอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน 1) ความตระหนักด้านการป้องกันการทุจริต พบว่าระดับชำนาญการพิเศษและระดับชำนาญการมีความแตกต่างในระดับที่สูงกว่าระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญ 2) ความตระหนักด้านการตรวจพบการทุจริตพบว่าระดับผู้อำนวยการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับชำนาญการมีความแตกต่างในระดับที่สูงกว่าระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญ 3) ความตระหนักด้านการรายงานการทุจริตพบว่าระดับผู้อำนวยการ ระดับชำนาญการพิเศษมีความแตกต่างในระดับที่สูงกว่าระดับชำนาญการและระดับปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถนำข้อมูลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาด้านการตรวจสอบบัญชีภาครัฐแก่บุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

A. Graycar and D. Villa, “The Loss of Governance Capacity through Corruption,” An International Journal of Policy, Administration, and Institutions, Vol. 24, No. 3, pp. 419-438, 2011.(วารสาร)

สังศิต พิริยรังสรรค์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร, คอรัปชั่นกับประชาธิปไตยไทย, ศูนย์เศรษฐศาสตร์ การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536. (หนังสือ)

ต่อภัสสร์ ยมนาค, “ทุจริตในประเทศไทยกรณีศึกษาการทุจริตและสภาวการณ์ทางสังคม-การเมืองในวงการก่อสร้างไทย,” วารสารวิชาการ ป.ป.ช., ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 76-100, 2558. (วารสาร)

Transparency International. (2019). Corruption Perceptions Index 2019. สืบค้นจาก https:// www.bbc.com/thai/thailand-51217494. (เว็บไซต์)

ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, 2562. (คู่มือ/รายงาน)

A. Zarefar, Andreas and A. Zarefar, “The Influence of Ethics, experience and competency toward the quality of auditing with professional auditor skepticism as a Moderating Variable,” Procedia – Social and Behavioral Sciences, Vol. 219, pp. 828-832, 2016. (วารสาร)

Owusu‐Ansah S., Moyes G. D., Oyelere P. B. and Hay D. “An empirical analysis of the likelihood of detecting fraud in New Zealand,” Managerial Auditing Journal,pp.192-204, 2002. (วารสาร)

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์, "อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ", Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi, Vol. 13, No. 3, pp. 181-188, 2019. (วารสาร)

S. S. Halbouni, “The Role of Auditors in Preventing, Detecting, and Reporting Fraud: The Case of the United Arab Emirates (UAE),” International Journal of Auditing, Vol. 19, pp. 117-130, 2015. (วารสาร)

M. Jizi, R. Nehme and R. ELHout, “Fraud: Auditors' Responsibility or Organisational Culture,” International Social Science Journal, Vol. 66, No. 221-222, pp. 241-255, 2016. (วารสาร)

H. A. Hashim, Z. Salleh, N. R. Mohamad, F. S. Anuar and M. M. Ali, "Auditors' Perception towards their Role in Assessing, Preventing and Detecting Business Fraud," International Journal of Innovation, Creativity and Change, Vol. 5, No. 2, pp. 847-862, 2019. (วารสาร)

มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 240 เรื่อง ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับการพิจารณาการทุจริตในการตรวจสอบงบการเงิน, สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 2555. (คู่มือ/รายงาน)

มาตรฐานกำหนดตำแหน่งข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, 2561. (คู่มือ/รายงาน)

S. W. Breckler, Attitude Structure and Function, New Jork: L Eribaum Association, 1986. (หนังสือ)