แนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัย และกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 12 ราย สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1) ปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองของเกษตรกรที่เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยเพื่อพัฒนาตนเองของเกษตรกร คือ 1.1.1) การมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ 1.1.2) มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ได้แก่ ซื่อสัตย์ อดทน มนุษยสัมพันธ์ดี กล้าเปลี่ยนแปลง ริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ 1.1.3) การได้รับการสนับสนุน จากครอบครัวและการมีเครือข่ายที่ดี 1.2) กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ได้แก่ การเรียนรู้จากการสังเกต การเรียนรู้จากประสบการณ์ และเพื่อแก้ปัญหาที่พบจากการทำงาน เพื่อพัฒนาอาชีพของตนเอง
2) แนวทางการพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ประกอบด้วย 2.1) แนวทางสำหรับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และ 2.2) แนวทางสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเกษตรกร
Article Details
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
2. อัมพร มาแสวง. (1 เมษายน 2561). สมรรถนะและขีดความสามารถของแรงงานภาคเกษตรในอนาคต. สืบค้นจาก http://thaiengineerguide.com/magazine/570100000022
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564).
4. พีรเดช ทองอำไพ, “โอกาสและความท้าทายภาคการเกษตรกับThailand 4.0”. วารสารเกษตร
อภิรมย์, พฤศจิกายน-ธันวาคม 2559. หน้า 11.
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).
6. กรมส่งเสริมการเกษตร, คู่มือการขับเคลื่อนนโยบาย smart Farmer, 2559.
7. สิงห์ สวัสดี. เกษตรอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. สัมภาษณ์เมื่อ 1 มิถุนายน 2561.
8. ยุวพล วัตถุ ผู้อำนวยการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรฝ่ายกิจการสาขาภาคตะวันตก. สัมภาษณ์เมื่อ 5 มิถุนายน 2561.
9. ฉลองชัย ปานรักษา. เกษตรกรจังหวัดราชบุรี.สัมภาษณ์เมื่อ 7 มิถุนายน 2561.
10. กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (1 เมษายน 2561). พิมพ์เขียวประเทศไทย 4.0 โมเดลการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-doc-archives/thailand-40/11625-blueprint-thailand-4.
11. มรกต กำแพงเพชร, “การพัฒนารูปแบบการสร้างผู้ประกอบการเกษตรกรปราดเปรื่องในธุรกิจเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยยุค 4.0”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
12. อภิชาติ ใจอารีย์, “แนวทางการพัฒนากำลังคนเพื่อเป็นผู้ประกอบการเกษตรบนเส้นทาง อาชีวเกษตร : ถอดประสบการณ์โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่”. วารสารการเมืองการปกครองปีที่ 6 ฉบับที่ 1 กันยายน 2558 - กุมภาพันธ์ 2559
13. ศิลปะพร ชื่นสุรัตน์. (1 เมษายน 2561). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการประกอบอาชีพเกษตรกร. สืบค้นจาก http://oae.go.th/ewtadmin/ewt/oae_baer/ewt_news.php?nid=2100&
filename=indes
14. สุมาลี สังข์ศรี,รายงานการจัดการศึกษานอกระบบเพื่อการศึกษาตลอดชีวิตตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542, กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์, 2542.
15.พิทักษ์ ศิริวงษ์ ศุภณัฐ บุญแสง และปฐวี กลิ่นทองทิพย์, “เรื่องเล่าชีวิตความสำเร็จจากเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ กรณีศึกษาฟาร์มเลี้ยงผึ้งลุงสะอาด เขตงามวงศ์วาน กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.