การศึกษาสาเหตุที่เป็นปัญหาต่อการเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

ปุณยพล จันทร์ฝอย
ตีรวิชช์ ทินประภา
วาริยา พุทธปฏิโมกข์

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุที่เป็นปัญหาต่อการเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์                 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประชากรเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 327 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบปลายปิดสำรวจรายการ  ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่เป็นปัญหาต่อการเรียนใน ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ แบบปลายปิดโดยใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale)  และ ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ แบบปลายเปิด ที่ผ่าน             การตรวจสอบความเที่ยงตรงและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของแบบสอบถามเท่ากับ 0.952 ผู้วิจัยได้รับการตอบแบบสอบถามจำนวน 293 คน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. จำนวนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชายจำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 และ เป็นเพศหญิงจำนวน 204 คน คิดเป็นร้อยละ 69.60 ของจำนวนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามมากที่สุดได้แก่นักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 26.69 รองลงมาเป็นบัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา จำนวน 76 คน คิดเป็นร้อยละ 25.90 และนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 3 จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 21.20 นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์อาศัยอยู่ในหอพักมากที่สุด จำนวน 211 คน คิดเป็นร้อยละ 72.00  รองลงมาอาศัยบ้านพักส่วนตัว จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 24.60 และ อาศัยในลักษณะอื่น ๆ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 3.40 

  2. สาเหตุทางด้านผู้เรียนที่เป็นปัญหาต่อการเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์พบว่านักศึกษาอ่านเนื้อหาล่วงหน้าก่อนเรียนในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.03 รองลงมาคือนักศึกษามีการทบทวนเนื้อหารการเรียนในแต่ละครั้ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.47 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86 สาเหตุทางด้านการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อปัญหาการเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์พบว่า อาจารย์มีการจัดกิจกรรมให้นักศึกษามีส่วนร่วมอย่างหลากหลายน้อยที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 รองลงมาคือ อาจารย์มีการสะท้อนผลการวัดผลในแต่ละครั้งให้กับนักศึกษา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 และ สาเหตุทางด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนที่มีผลต่อปัญหาการเรียนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์พบว่า สถานศึกษามีบริการด้านข้อมูลสารสนเทศอย่างเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับ 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 รองลงมาสถานศึกษามีวัสดุอุปกรณ์ทางการเรียนให้นักศึกษาปฏิบัติอย่างพอเพียง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.87

จากผลการวิจัยที่กล่าวข้างต้นผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะว่านักศึกษาควรมีการศึกษาเนื้อหาก่อนเรียนในชั้นเรียน และอ่านหนังสือทบทวนเนื้อหาทุกครั้งหลังเรียน อาจารย์ผู้สอนควรจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการคิดกิจกรรม ดำเนินกิจกรรม ทั้งในรูปของแบบกลุ่ม หรือรายบุคคล และสถานศึกษาต้องจัดหาข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย และให้เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรห้าปี). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

_______________. (2562). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พ.ศ. ๒๕๖๒. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. ธนวัฒน์ ศรีศิริวัฒน์. (2556). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการปทุมวัน, 3(7), 23-29.

พรรณภัทร แซ่โท้ว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานีพัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(2), 294 – 306.

โรสนี จริยะมาการ และชื่นใจ สุกป่าน. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 26 – 40.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, สงขลา.

สมภพ ล่ำวัฒนพร. (2544). การศึกษาปัญหาการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ. (ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.

Davis K. (1997). Human Behavior at Work. New York, McGraw – Hill.

Klausmeier, Herbert J. (1961). Learning and Human Abilities : Educational Psychology. New York : Brothers Statistical Package for the Social Sciences. New York, McGraw – Hill.