การศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในรายวิชาแคลคูลัส ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์

Main Article Content

ธนัชยศ จำปาหวาย
ช่อเอื้อง อุทิตะสาร
สุรนนท์ เย็นศิริ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในรายวิชาแคลคูลัส ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์คณะครุศาสตร์ ประชากรเป็นนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 73 คน ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบปลายปิดสำรวจรายการ  ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในรายวิชาแคลคูลัส แบบปลายปิดโดยใช้มาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) ที่ผ่านการตรวจคุณภาพเครื่องมือโดยมีค่าความเที่ยงตรงและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าเท่ากับ 0.942


                ผลการวิจัยพบว่า


                สาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในรายวิชาแคลคูลัส สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามีดังนี้ 1) สาเหตุด้านผู้เรียนคือการทำแบบฝึกหัดและงานที่ได้รับมอบหมาย 2) สาเหตุด้านอาจารย์ผู้สอนคือผู้สอนมีความรู้ในวิชาที่สอนเป็นอย่างดี 3) สาเหตุด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมและหลากหลาย 4) สาเหตุด้านการวัดประเมินผลการเรียนคือการตัดสินให้เกรดของผู้สอนถูกต้องตามหลักการวัดผลและประเมิน 5) สาเหตุด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนคือการมีกิจกรรมการเรียนการสอนแบบซ่อมเสริม เช่น เพื่อนติวเพื่อน  และพี่ติวน้อง  เป็นต้น และการมีตำราและเอกสารประกอบการสอนมีเพียงพอ และ 6) สาเหตุด้านหลักสูตรของวิชาแคลคูลัสคือการจัดให้เรียนวิชาแคลคูลัสในชั้นปี 1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา คำมาก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 1 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี Suranaree Journal of Social, 9(1), 83-94.

โรสนี จริยะมาการ และชื่นใจ สุกป่าน. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา คณิตศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์: การวิเคราะห์พหุระดับ.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์สาขามนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์, 5(2), 26-40.

เอกพัฒน์ เฮืองใสส่อง และเชาว์ อินใย. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 237-249.

Elvis Munyaradzi Ganyaupfu. (2013). Factors Influencing Academic Achievement in Quantitative Courses among Business Students of Private Higher Education Institutions. Journal of Education and Practice, 4(15), 30-33.